โรคมะเร็งไต เป็นโรคที่ค่อยๆ ลุกลาม ผู้ป่วยมีอัตราการอยู่รอด 5 ปี ถึงประมาณ 35–40% หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะแรกๆ ฉะนั้นการสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายจึงเป็นเรื่องสำคัญ
อาการโรคมะเร็งไตมีอะไรบ้าง
- ไม่มีอาการบ่งชี้ที่แน่ชัด ปัจจุบัน โรคมะเร็งไตประมาณร้อยละ 40 ขึ้นไป จะพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพหรือการตรวจร่างกายด้วยสาเหตุอื่น ไม่มีอาการที่ชัดเจนหรือสัญญาณของร่างกายใดๆ มะเร็งไตในระยะแรกหลังจากได้รับการดูแลแล้ว โดยทั่วไปการพยากรณ์โรคจะดี ด้วยเหตุนี้ จึงแนะนำให้ไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
- อาการเฉพาะที่ ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดเอว มีก้อนเนื้อบริเวณท้อง เป็นสามอาการหลักที่สำคัญของมะเร็งไต เมื่ออาการทั้งสามเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย มักจะคาดเดาได้ว่าอาการพัฒนามาถึงขั้นสุดท้ายแล้ว แต่เหตุการณ์นี้จะน้อยมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะปรากฏอาการเพียงหนึ่งหรือสองอาการจากสามอาการข้างต้น
- ปัสสาวะเป็นเลือด ผู้ป่วยมะเร็งไตประมาณ 40% จะปัสสาวะเป็นเลือด สามารถมองเห็นปัสสาวะเป็นเลือดได้ด้วยตาเปล่า หรือมองเห็นจากการส่องกล้อง เมื่อปัสสาวะออกมาเป็นเลือดจำนวนมากโดยมีลิ่มเลือด สามารถปรากฏอาการปวดบีบรัดที่ไต ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะลำบาก แม้กระทั่งปัสสาวะคลั่ง
- ก้อนเนื้อ ไตจะอยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง ในตำแหน่งลึก เมื่อคลำตรวจบริเวณท้องจะไม่พบ จนเมื่อเนื้องอกมีขนาดค่อนข้างใหญ่หรืออยู่ที่ด้านล่างสุดของไตถึงจะคลำตรวจพบ ผู้ป่วยประมาณ 10% – 40% สามารถคลำพบก้อนเนื้อบริเวณท้อง บางครั้งอาจจะเป็นเพียงอาการเดียวที่พบ
- เจ็บปวด การปวดเอว เนื่องจากเนื้องอกใหญ่ขึ้นทำให้ความตึงของส่วนรีนัลแคปซูล ( ส่วนนอกสุดที่หุ้มรอบไต ) เพิ่มขึ้นหรือเนื้องอกรุกล้ำเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้มีอาการปวดตื้ออย่างต่อเนื่อง อัตราการเกิดความเจ็บปวดประมาณ 20% – 40% หากมีอาการที่เกี่ยวข้องควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หลีกเลี่ยงไม่ให้อาการยืดเยื้อ
- อาการตามร่างกาย ผู้ป่วยประมาณ 10% – 40% จะมีกลุ่มอาการร่วมกับเนื้องอก เช่น ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง น้ำหนักลดลง ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก เป็นไข้ ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก ตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น
- อาการลุกลาม เนื่องจากมะเร็งมีการลุกลาม ผู้ป่วยอาจจะไปพบแพทย์จากอาการปวดกระดูก กระดูกหัก ไอ อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยประมาณ 10% ไปพบแพทย์เพราะปรากฏอาการลุกลามเหล่านี้
อาการของโรคมะเร็งไตเปลี่ยนแปลงไปได้มากมาย หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที และต้องทำการตรวจที่เกี่ยวข้อง
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งไตมีอะไรบ้าง
การวินิจฉัยโรคมะเร็งไตโดยหลักจะอาศัยการตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์ ซึ่งการวินิจฉัยแน่ชัดต้องใช้การตรวจทางพยาธิวิทยา
- การตรวจจากภาพถ่ายทางการแพทย์
- การตรวจเอกซเรย์ การถ่ายภาพ plain film บริเวณเอว สามารถแสดงให้เห็นบริเวณที่ถ่ายภาพรังสีที่ไตในตำแหน่งรอยโรคซึ่งขยายใหญ่ขึ้น และภาพถ่ายกล้ามเนื้อ psoas major บริเวณเอวที่ไม่ชัด ภาพถ่ายกรวยไตมักจะแสดงให้เห็นภาพกรวยไตหรือกลีบกรวยไตได้รับการกดทับ เปลี่ยนรูปร่าง ยาวขึ้นหรือบิดกลับ เป็นต้น
- การตรวจอัลตราซาวด์ สามารถแยกแยะก้อนเนื้อแข็งและซีสต์ที่ไตได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถแสดงให้เห็นขอบเขตของมะเร็งไต มะเร็งมีการรุกล้ำไปอวัยวะใกล้เคียงหรือไม่ มีการลุกลามไปที่ตับและม้ามหรือไม่
- การตรวจ CT scan โดยหลักจะใช้วินิจฉัยรอยโรคที่ไต อัตราความแม่นยำในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างซีสต์และก้อนเนื้อแข็งสูงถึง 95% สามารถประเมินขนาดของก้อนมะเร็ง ลักษณะภายนอก ระดับความหนาแน่น มีเลือด ของเหลว เนื้อเยื่อตายหรือไม่ มีการรุกล้ำหรือลุกลามไปเนื้อเยื่อโดยรอบหรือไม่ ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ
- การตรวจ MRI scan สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างก้อนแข็งของไตและซีสต์ที่ไตได้อย่างชัดเจน
- การตรวจทางพยาธิวิทยา การตรวจชิ้นเนื้อที่ไตสามารถตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาในระยะแรกได้