โพรไบโอติก คือจุลินทรีย์มีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเกี่ยวกับภาวะในลำไส้ได้ มักพบมากในบริเวณระบบทางเดินอาหาร จุลินทรีย์ชนิดนี้ทนทานต่อกรดและด่าง และนับเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่คล้ายกับเกราะที่ยึดเกาะอยู่กับเยื่อบุลำไส้ คอยสร้างสารออกมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ได้ หากมีในปริมาณที่เพียงพอจะมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุลได้อีกด้วย

โพรไบโอติกสายพันธุ์ไหนใช่ที่สุด เพราะโพรไบโอติกแต่ละสายพันธุ์ ก็ให้ประโยชน์ที่ต่างกันไป

Bifidobacterium animalis ssp. lactis HN019

เป็นจุลินทรีย์ดีของสายพันธุ์โพรไบโอติกที่ทนต่อน้ำดีและกรดทางเดินอาหาร เข้ามาช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหารมากยิ่งขึ้น เป็นหนึ่งในสายพันธุ์โพรไบโอติกที่มีการศึกษาและผลทางคลินิกรองรับสูงถึงประโยชน์ในการช่วยระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารโดยรวม

Lactobacillus acidophilus NCFM

อีกหนึ่งสายพันธุ์ของโพรไบโอติกที่ได้รับรองจากผลการศึกษาและผลทางคลินิกเรื่องประโยชน์ที่จะช่วยในระบบย่อยและทางเดินอาหาร สายพันธุ์นี้จะเน้นช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยสูงอายุ

Lactobacillus paracasei Lpc-37

เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์ตัว Bifidobacterium animalis ssp. lactis HN019 และ Lactobacillus acidophilus NCFM มีคุณสมบัติทนน้ำดีและกรดในทางเดินอาหารได้ เข้ามาช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

Lactobacillus acidophilus La-14

เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานและประโยชน์ของจุลินทรีย์ Bifidobacterium lactis HN019 และ Lactobacillus acidophilus NCFM ในลำไส้ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น

Bifidobacterium animalis ssp. lactis BI-04

สายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูไมโครไบโอมในลำไส้ มีคุณสมบัติยึดเกาะผนังลำไส้อย่างดีเยี่ยม

โพรไบโอติก ช่วยอะไร โพรไบโอติกที่เรารู้จักกันเบื้องต้นนั้น มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  1. ช่วยกระตุ้นระบบย่อยและระบบขับถ่าย ด้วยแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) จุลินทรีย์ในกลุ่มโพรไบโอติกที่พบได้ตามธรรมชาติโดยเฉพาะบริเวณทางเดินอาหาร
  2. ช่วยกระตุ้นภูมิกันคุ้มกันต่างๆ ในร่างกาย
  3. ช่วยสร้างเอนไซม์ที่กระตุ้นการย่อยอาหาร
  4. ช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ เช่น อาการอักเสบในช่องคลอด อาการอักเสบทางเดินปัสสาวะ
  5. ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์และเชื้อบางชนิด
  6. ช่วยควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือด Bifidobacteria
  7. ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องเสีย Saccharomyces Boulardii

โพรไบโอติก vs พรีไบโอติก เหมือนกันหรือไม่

  • โพรไบโอติก (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็ก นับเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ พบได้ในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาสมดุลในลำไส้ และป้องกันอาการผิดปกติต่างๆ ของลำไส้ได้อีกด้วย
  • พรีไบโอติก (Prebiotics) คือ ใยอาหารที่พบมากในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง หรือไฟเบอร์ในผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของโพรไบโอติก เรียกว่าจุดไหนที่มีพรีไบโอติกเยอะ จุลินทรีย์โพรไบโอติกก็จะเยอะตามไปด้วยนั่นเอง

แม้ว่าชื่อจะแตกต่างกัน แต่ทั้งโพรไบโอติกและพรีไบโอติกนั้นต่างทำงานสนับสนุนซึ่งกันและกัน หากร่างกายมีพรีไบโอติกหรือได้รับพรีไบโอติกจำนวนที่มากพอ ก็จะไปช่วยส่งเสริมการทำงานของโพรไบโอติกให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้ ช่วยลดสาเหตุของโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากลำไส้