เป็นมะเร็ง กินอะไรดีหมอ
ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่จะกินได้น้อยลงทั้งจากตัวโรคเอง คือ เซลล์มะเร็งจะมีการสร้างสารบางอย่างที่ทำให้ไม่หิว และเบื่ออาหาร ประกอบกับความเครียดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการรักษาโดยการผ่าตัด ฉายแสง หรือทำเคมีบำบัด ก็จะยิ่งกินได้น้อยลงอีก
เหตุนี้เองทำให้ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มีภาวะขาดสารอาหารและส่งผลให้สุขภาพแย่ลง สารอาหารที่จำเป็นที่สุดสำหรับคนไข้มะเร็ง คือ โปรตีน ซึ่งมีความต้องการมากกว่าคนปกติถึง 1.5-2 เท่า (คนปกติต้องการโปรตีนคิดเป็น 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน)
อาการเบื่ออาหารและกินอาหารได้น้อยลงยิ่งทำให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ จึงฟื้นตัวจากการรักษาได้ช้า ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษาได้ง่าย เช่น ปัญหาเม็ดเลือดต่ำ ผลเลือดไม่ผ่านเกณฑ์ ส่งผลให้การได้รับคีโมไม่ต่อเนื่อง ซึ่งมักพบได้บ่อย
สามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลอาหารและโภชนาการให้ดีระหว่างได้รับคีโม โดยเพิ่มอาหารเสริมจำพวกนม ที่มีสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โปรตีน ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 สังกะสี ฯลฯ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีพรีไบโอติกส์และโปรไบโอติกส์ ที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
วิธีการดูแลและป้องกันการขาดสารอาหาร
- ปรับพฤติกรรมการกิน โดยแบ่งย่อยมื้ออาหารออกเป็น 5 มื้อ และลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อลง
- เลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และดูดซึมได้เร็ว
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีนจากเนื้อสัตว์
- ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น และลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนให้น้อยลง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000
เว็บไซต์ : รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
ไทย | ဗမာစာ