เนื้องอกในสมอง เป็นโรคที่พบไม่บ่อยนัก เมื่อเทียบกับเนื้องอกของอวัยวะอื่น สามารถเกิดได้กับคนทุกอายุ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย เกิดได้ในทุกส่วนของสมอง มีทั้งเนื้องอกที่เป็นก้อนเนื้อธรรมดา ไปจนถึงชนิดร้ายแรง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ เนื้องอกในสมอง

สาเหตุของเนื้องอกในสมองยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสของเนื้องอกในสมอง ได้แก่

  1. เคยได้รับการฉายแสงบริเวณที่ต้นคอหรือศีรษะมาก่อน แล้วทำให้เกิดเนื้องอกในระบบประสาทได้ในระยะ 5 หรือ 10 ปีตามมา
  2. ความเสี่ยงจากการสัมผัสกับตัวทำละลายเคมีต่างๆ โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืช น้ำมัน รวมถึงพลาสติกไวนิลคลอไรด์ (PVC)
  3. ประวัติการเป็นโรคเนื้องอกสมองในครอบครัว
  4. การได้รับสัมผัสรังสีหรือสารกำมันตภาพ

อาการแสดงของเนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองมักจะมาด้วยอาการที่หลากหลายขึ้นกับตำแหน่งของเนื้องอกในสมอง โดยที่อาการที่พบบ่อยที่สุดในเนื้องอกในสมอง คือ

  • อาการปวดศีรษะ และอาเจียนร่วมด้วย
  • มีอาการชัก ไม่ว่าจะชักทั้งตัวหรือชักเฉพาะที่ โดยที่ไม่เคยเป็นโรคลมชักมาก่อน
  • การเสียประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน ขา และกล้ามเนื้อลาย
  • เห็นภาพซ้อน
  • การสูญเสียการรับสัมผัส การสูญเสียการมองเห็น การมองเห็นผิดปกติ การได้ยินผิดปกติ
  • อัมพฤกษ์ครึ่งซีก (hemiparesis)

การวินิจฉัย เนื้องอกในสมอง

โดยเบื้องต้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด และหากสงสัยว่าอาจมีเนื้องอกในสมอง    จะต้องทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง ( MRI Brain ) เพื่อสร้างภาพถ่ายโครงสร้างภายในสมองและเนื้องอก ที่มีความละเอียดที่มากกว่าภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หากพบว่ามีเนื้องอกในสมอง หรือเนื้อเยื่อผิดปกติ แพทย์อาจทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อว่าเป็นเนื้องอกชนิดใด รุนแรงระดับไหน เพื่อวางแผนทำการรักษาต่อไป

ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000