เนื้องอกตับ (Liver Hemangioma) เกิดจากความซับซ้อนของเส้นเลือดในตับ ส่วนใหญ่ตรวจพบระหว่างการตรวจร่างกายหรือการรักษาโรคอื่นๆ ผู้ป่วยเนื้องอกที่ตับส่วนมากไม่ค่อยมีสัญญาณบ่งชี้หรืออาการที่ชัดเจน เนื้องอกตับชนิดฮีแมงจิโอมา (Liver Hemangioma) เป็นก้อนเนื้อในตับที่ไม่ใช่มะเร็ง และไม่เป็นอันตราย
การพบเนื้องอกในตับอาจก่อให้เกิดความกังวลใจ แม้ว่าจะไม่ใช่ก้อนเนื้อร้าย อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเนื้องอกในตับที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถก่อให้เกิดมะเร็งตับได้
อาการของเนื้องอกตับ
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ เนื้องอกตับไม่มีสัญญาณบ่งชี้หรืออาการใด แต่อาจมีสัญญาณบ่งชี้และอาการบางอย่างที่สัมพันธ์กับการเกิดเนื้องอกที่ตับ ได้แก่
- มีอาการปวดที่ท้องด้านขวาบน
- รู้สึกอิ่มง่ายแม้รับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย
- คลื่นไส้ อาเจียน
สาเหตุของเนื้องอกตับ
แพทย์ไม่ทราบแน่ชัดถึงเหตุผลที่เส้นเลือดเกาะตัวกันและทำให้เกิดเนื้องอกที่ตับ อย่างไรก็ดี แพทย์เชื่อว่าน่าจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งหมายความว่ามีแนวโน้มถ่ายทอดกันภายในครอบครัว และเนื้องอกที่ตับบางชนิดอาจเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด
ปัจจัยเสี่ยงของเนื้องอกตับ
ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับเนื้องอกที่ตับมีหลายประการ เช่น
- อายุ: เนื้องอกที่ตับสามารถตรวจพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักตรวจพบได้มากที่สุดในผู้ที่อายุ 30 ถึง 50 ปี
- เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสตรวจพบเนื้องอกที่ตับได้มากกว่าผู้ชาย
- ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์: มีโอกาสมากกว่าที่จะตรวจพบเนื้องอกที่ตับ มากกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์ เชื่อกันว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีบทบาทต่อการเติบโตของเนื้องอกที่ตับ
- การเสริมฮอร์โมน: สำหรับวัยหมดประจำเดือนของผู้อาจมีโอกาสมากกว่าที่จะตรวจพบเนื้องอกที่ตับได้มากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้การเสริมฮอร์โมน
การรักษาเนื้องอกตับ
เนื้องอกที่ตับส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง อาจจำเป็นต้องผ่าตัดออกหากมีขนาดใหญ่และทำให้เกิดอาการต่างๆ หรือก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของตับ โดยแพทย์อาจตัดสินใจผ่าตัดนำส่วนที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดออก
เนื้องอกที่ตับสามารถเติบโตได้หากมีกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงมากพอ ในกรณีนี้ แพทย์อาจผูกหลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือดไปยังเนื้องอกที่ตับให้เป็นปม ในขณะที่บริเวณโดยรอบตับจะได้รับเลือดจากหลอดเลือดอื่นๆ และยังคงมีสุขภาพดี การผ่าตัดแบบนี้เรียกว่าการผ่าตัดผูกเส้นเลือดแดงเฮพาติค (hepatic artery ligation)
หรือแพทย์อาจพิจารณาตัดสินใจฉีดยาเข้าไปในเนื้องอกที่ตับเรียกว่า การอุดเส้นเลือด (arterial embolization) เพื่อขัดขวางกระแสเลือด ซึ่งทำให้เนื้องอกที่ตับหายไปในที่สุด
ในสถานการณ์ที่พบได้น้อยมาก อาจจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายตับ ตับที่เสียหายจะได้รับการแทนที่ด้วยตับของผู้บริจาค แต่เฉพาะในกรณีที่เนื้องอกที่ตับมีขนาดใหญ่มากหรือมีการเพิ่มจำนวน และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นเท่านั้น หรือในบางกรณี อาจจำเป็นต้องมีการฉายรังสีเพื่อลดขนาดเนื้องอกลงอย่างไรก็ดี รูปแบบการรักษานี้พบได้น้อยมาก