ยีน K ras เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างไร ?

K ras คือยีนในร่างกายคน โดยปกติเรามียีน K ras อยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ ยีนนี้จะสร้างโปรตีน K ras ซึ่งจะทำงานภายใต้การควบคุมกลไกของเซลล์ในภาวะปกติ คือต้องรอรับสัญญาณส่งผ่านมาทาง EGFR ก่อน ถ้าเกิดมีการกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงรหัสทางพันธุกรรม

K ras อาจทำงานผิดปกติ เช่น ทำงานมากขึ้น หรือนานกว่าปกติ และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ EGFR ผลที่ตามมาคือ เซลล์จะมีการแบ่งตัวเร็วขึ้น ทนทาน ไม่ยอมตาย แพร่กระจายได้ง่าย รวมทั้งอาจทำให้มีการสร้างโปรตีนตัวอื่น ๆ ต่อไป เพื่อสร้างเส้นเลือดใหม่ ๆ คุณสมบัตินี้เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของกระบวนการก่อมะเร็ง

ดังนั้นถ้ามีมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีการกลายพันธุ์ของ K ras อยู่ K ras จะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้การเติบโตของมะเร็งรวดเร็ว เมื่อมีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเป้าหมาย (Targeted Therapy) โดยออกฤทธิ์ต้าน EGFR ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในระดับโมเลกุล K ras ที่มีการกลายพันธุ์จะต้านผลของการใช้ยาต้าน EGFR

ใครบ้างที่ควรตรวจยีน K ras

  • กรณีแรกที่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่กำลังตัดสินใจจะใช้ยาต้าน EGFR ในกลุ่มแอนติบอดี้ ในอนาคต หรือกำลังใช้อยู่ ถ้าพบว่ามียีน K ras กลายพันธุ์ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้าน EGFR ในกลุ่มแอนติบอดี้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
  • การตรวจ K ras อาจใช้เป็นปัจจัยการพยากรณ์โรคได้ด้วย K ras จะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้มะเร็งการเติบโตอย่างรวดเร็ว