จุดประสงค์ในการให้ยาเคมีบำบัด

  • รักษาโรคมะเร็ง การทำเคมีบำบัดมีจุดประสงค์ในการเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งให้หายไป แต่ผู้ป่วยก็อาจเกิดมะเร็งขึ้นมาใหม่ได้หลังการรักษาแพทย์จึงไม่สามารถรับรองได้ว่าการทำเคมีบำบัดจะช่วยรักษาโรคมะเร็งให้หายขาด แต่ในบางกรณีมีความเป็นไปได้ที่ตัวยาสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ควบคุมเซลล์มะเร็ง นอกเหนือจากการเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง แพทย์อาจแนะนำการทำเคมีบำบัดให้เป็นวิธีที่เข้าไปช่วยควบคุมมะเร็งในผู้ป่วยที่มะเร็งมีการเติบโตจนแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น เพราะการทำเคมีบำบัดในบางครั้งอาจเป็นการเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งให้หายไปในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำเมื่อหยุดการรักษาซึ่งคล้ายกับการรักษาโรคเรื้อรังชนิดอื่น ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการทำเคมีบำบัดเป็นระยะ
  • ช่วยประคับประคองอาการ เมื่อมะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นจนไม่สามารถควบคุมได้ การทำเคมีบำบัดอาจมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งในการบรรเทาอาการและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นให้มากที่สุด เช่น ช่วยลดขนาดเนื้องอกที่เข้าไปกดทับจนเกิดอาการปวดตามร่างกาย

 

ข้อดี : ของยาเคมีบำบัดในรูปแบบรับประทาน คือ ยาจะมีโมเลกุลที่ทำหน้าที่ยับยังกระบวนการทำลายยาในร่างกาย  จึงทำให้ ปริมาณของยา ที่ใช้ในการรักษาให้ได้ผล  จะใช้ในปริมาณน้อย ดังนั้นผลข้างเคียงที่พบได้ก็จะน้อยลงอีกด้วย และผู้ป่วยจะมีช่วงเวลาพักในการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวจากผลข้างเคียงของยาอีกด้วย

สูตรยาเคมีบําบัด ในปัจจุบันมีหลายชนิด แม้ในมะเร็งชนิดเดียวกันอาจมีระยะเวลาในการให้ยาแตกต่างกัน

ปัจจุบัน ยาเคมีบำบัดในรูปแบบรับประทาน ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทย หรือ อย. ให้ใช้ในอยู่ป่วยมะเร็งดังต่อไปนี้

  1. มะเร็งกระเพาะอาหาร
  2. มะเร็งลำไส้
  3. มะเร็งตับอ่อน
  4. มะเร็งปอด