อาการปวด เป็นปัญหาที่สำคัญและมีผลกระทบที่รุนแรงต่อ ผู้ป่วยมะเร็ง  โดยเฉพาะในระยะที่ก้อนมะเร็งลุกลาม ซึ่งเป็นภาพจำของความทุกข์ทรมานจากมะเร็งที่ผู้คนต่างหวาดกลัว  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักและหาทางจัดการ

ทำไมถึงปวด ?  เราต้องรู้ก่อน

– เพราะก้อนมะเร็งลุกลามออกมาที่ผิว ซึ่งมีเซลล์ประสาทอยู่มาก เช่นมะเร็งเต้านม ต่อมน้ำเหลือง

– เพราะก้อนมะเร็งในอวัยวะขยายตัวทำให้เกิดการกดเบียด เพิ่มความดันภายใน จนแน่น และอุดตัน เช่น มะเร็งลำไส้ หรือเกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อและการอักเสบที่รุนแรง เช่น มะเร็งที่ตับ หรือตับอ่อน

– เพราะมะเร็งลุกลามเข้าใกล้เส้นประสาท ทำให้เกิดการรบกวน และ เกิดกระแสประสาทตลอดเวลา เช่นมะเร็งของแขนขา มะเร็งกระจายในช่องท้อง มะเร็งที่กินกระดูดจน กระดูกยุบทับเส้นประสาท

เราจะจัดการอาการปวดได้อย่างไร ?

– แก้ที่ตัวอวัยวะ ที่ถูกมะเร็งลุกลาม เช่น ฉายรังสี ,ผ่าตัดยกกระดูกไม่ให้ทับเส้นประสาท , ฉายรังสีเฉพาะที่เพื่อคุมมะเร็งให้หยุดลุกลาม , ให้ยาลดมะเร็งกินกระดูกเช่น ยาฉีด Denosumab , Bisphosphanate

– การ ให้ยาจัดการอาการปวด  แบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยทำงานประสานกันและปรับเพิ่มตามอาการ โดยดูจากคะแนนปวด ระบบตัวเลขคะแนนความปวด  ปวดเต็มที่คือ 10 ปวด ถ้าใช้ยาแล้วปวดลดลงครึ่งหนึ่งคือ 5/10 เพื่อให้ ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจตรงกัน ว่าผลการรักษาดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร

วัตถุออกฤทธิ์ในยาหลักๆ ได้แก่

ยาแก้ปวดแบบไม่ใช่สารฝิ่นเช่น Para , Brufen ,Ponstan

ยาสารฝิ่นอย่างอ่อนเช่น Tramadol Codeine

ยามอร์ฟีน ซึ่งเป็นยาหลัก และ ยาอนุพันธ์ ต่างๆ เช่น Fentanyl , Oxycodone

กลไกการทำงาน คือไปจับกับตัวรับเฉพาะที่อวัยวะทำให้ลดความรู้สึกปวดที่ไปที่สมอง

วัตถุประสงค์ของการใช้ยา แบ่งได้เป็น

 

  •  ยาคุมอาการปวด หรือ Pain control เป็นยาที่ให้ไปตลอดอย่าง สม่ำเสมอเพื่อกดอาการปวด เช่น ยามอร์ฟีนกินปล่อยยาช้า แบบ กินทุก 8 ,12 , 24 ชั่วโมง หรือ แผ่นแปะ ทุก 72 ชั่วโมง เน้นที่ออกฤทธิ์ช้าแต่คงอยู่นานเพื่อคุมปวด แต่ใช้แก้ปวดทันทีได้ไม่ดี
  •  ยาแก้ปวด จะใช้หยุดอาการปวดทันที จึงออกฤทธิ์เร็วมาก แต่ก็หมดฤทธิ์เร็วเช่นกัน มักเป็นยาฉีดเช่นยามอร์ฟีน ยา tramol  หรือ ยากิน เช่นยามอร์ฟีนแบบออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งมีทั้งแบบเม็ดและแบบยาน้ำ

 

แต่ยาแบบนี้ก็มีผลเสียคือการติดยาถ้าใช้อย่างไม่เหมาะสม และไม่มียาคุมปวดใช้ร่วมกัน

  1.  ยาปรับการรู้สึกปวด ไม่ได้ไปออกฤทธิ์ ที่การจับกับตัวรับที่หยุดการปวด แต่ไปยับยั้งการส่งกระแสประสาทของความปวดไปที่สมอง มักเป็นการเอายากันชักเช่น gabapentin มาใช้นั่นเอง

ยาทั้งสามชนิด เมื่อให้เสริมกันแล้วก็จะช่วยให้การจัดการการปวดทำได้ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการปวด ควรให้ประวัติ อาการ ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรง ปัจจับกระตุ้นหรือทุเลาปวด เพื่อให้แพทย์สามารถเลือกการจัดการ เช่นการผ่าตัด การบล็อกการทำงานของเส้นประสาท และ ปรับยาแก้ปวดได้อย่างถูกต้อง

 

เราไม่สามารถทำให้มะเร็งหายได้แต่เราสารถทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยมีอาการปวดมารบกวนน้อยที่สุด

 

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 08-0074-8800, 02-115-2111
แฟกซ์ : 02-738-9740
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Line : @ch9airport