มะเร็งเต้านม เป็นโรคที่เกิดขึ้นจาก เซลล์บนผิวของต่อมเต้านมได้รับผลกระทบจากสารก่อมะเร็ง ยีนจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้ เกินขีดจำกัดของร่างกาย และเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงเป็นรองจากมะเร็งปากมดลูกเท่านั้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี ซึ่งอยู่ในวัยก่อนหรือหลังหมดประจำเดือนจะมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพียง 1% – 2% เท่านั้นที่เป็นผู้ชาย
อัตราการเกิดโรค มะเร็งเต้านม สูงแค่ไหน ?
โรคมะเร็งเต้านมมีอัตราการเกิด 7% – 10% ของการเกิดมะเร็งต่างๆ ในร่างกาย ในช่วงชีวิตของผู้หญิงจะมีความเป็นไปได้ในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมประมาณ 10% ทุกปีทั่วโลกจะมีผู้หญิงเป็นโรคมะเร็งเต้านมประมาณ 1,200,000 คน และมี 400,000 คน ที่เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ อัตราการเสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 2% – 3% ต่อปี และอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้น 0.2% – 0.8% ต่อปี
โรคมะเร็งเต้านมมีอันตรายในด้านใดบ้าง ?
- อันตรายต่อสุขภาพชีวิตในเพศหญิง
- มีความเสี่ยงในการลุกลามของมะเร็ง
- มีความเป็นไปได้ในการกลับมาเป็นซ้ำ
- ทำให้กล้ามเนื้อของแขนและมือฝ่อ
สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมคืออะไร ?
ปัจจัยต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับว่ามีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ การเป็นหมัน จำนวนการคลอดน้อย วัยหมดประจำเดือนมาถึงช้า ประจำเดือนมาตั้งแต่อายุยังน้อย มีประวัติโรคเต้านม มีประวัติโรคมะเร็งเต้านมทางครอบครัว การกินยาคุมกำเนิด และได้รับผลกระทบจากรังสี เป็นต้น
แต่สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังไม่สามารถยืนยันได้ทั้งหมด สำหรับปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดโรคซึ่งได้รับการยืนยันแล้วนั้น ก็ยังมีข้อถกเถียงอยู่ไม่น้อย แต่ฮอร์โมนเพศหญิงที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังหมดประจำเดือนนั้น เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมอย่างชัดเจนนอกเหนือไปจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยด้านการบริโภค และปัจจัยทางด้านจิตใจที่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมมีอาการแสดงอย่างไร ?
- มีอาการเจ็บปวดเต้านมข้างหนึ่งในระดับเบาหรือบริเวณไหล่และหลังมีอาการเมื่อยและบวม
- สามารถสัมผัสได้ว่าในเต้านมมีก้อนขนาดถั่วปากอ้าอยู่และไม่เจ็บปวด
- ผิวหนังบริเวณที่มีก้อนเนื้อจะนูนขึ้น
- ผิวหนังบริเวณหน้าอกบุ๋มลงไปหรือย่น
- หัวนมเน่าและไม่สม่ำเสมอ
- ผิวหนังของเต้านมหนาขึ้น และรูขุมขนใหญ่ขึ้น
- หัวนมมีของเหลวไหลออกมา ซึ่งอาจเป็นเลือดหรือของเหลวปนเลือด
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง ?
- การตรวจด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน : ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนในวันที่ 5 หลังจากหมดประจำเดือน วิธีตรวจคือถูสบู่ที่มือ แล้วใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วชี้และนิ้วกลางคลำสำรวจเต้านม รวมทั้งรักแร้และกระดูกไหปลาร้าตามทิศทางเข็มนาฬิกา
- การตรวจโดยการคลำสัมผัสของแพทย์ : แพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สามารถใช้วิธีคลำสัมผัสเพื่อตรวจดูว่ามีก้อนเนื้อที่เต้านมหรือไม่ และสามารถคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งเต้านมบางส่วนได้
- การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ : การตรวจอัลตราซาวด์สามารถวินิจฉัยลักษณะและตำแหน่งของก้อนเนื้อได้
- การตรวจแมมโมแกรม : การตรวจแมมโมแกรมจะทำให้ได้ภาพที่ชัดเจน ซึ่งสามารถตรวจพบก้อนเนื้อที่มีขนาดเล็กที่การคลำสัมผัสยากจะตรวจพบ
- การเจาะตรวจชิ้นเนื้อ : หากตรวจด้วยอัลตราซาวด์และแมมโมแกรมแล้ว ยังไม่สามารถจำแนกก้อนเนื้อหรือตุ่มหนองได้ ควรใช้วิธีนี้ตรวจการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ให้แน่ชัด
วิธีรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบดั้งเดิมคืออะไร ?
- การผ่าตัดแบบรักษาเต้านมไว้ : ผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกและเนื้อเยื่อรอบข้างเล็กน้อย
- การผ่าตัดเต้านมแบบถอนรากถอนโคน : ผ่าตัดเต้านมทั้งหมด อาจรวมหรือไม่รวมต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ด้วย
วิธีดูแลพยาบาลหลังการผ่าตัด ?
- หลังจากการผ่าตัด ควรออกกำลังกายข้อต่อของไหล่อย่างต่อเนื่อง
- หลังออกจากโรงพยาบาล ควรพักผ่อนให้เพียงพอ สามารถออกกำลังอย่างเหมาะสม เช่น วิ่งช้าๆ รำไทเก๊ก เป็นต้น
- ให้ความสนใจในเรื่องการจัดการบริโภค รับประทานอาหารที่บำรุงร่างกายให้มาก สร้างความเคยชินที่ดีในการดำรงชีวิต
วิธีการดูแลด้านจิตใจ ?
- ไปตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลตามกำหนด
- รักษาสภาพจิตใจและอารมณ์ให้เป็นปกติ
- คู่สมรสและคนในครอบครัวควรให้กำลังใจและความอบอุ่น
- พูดโน้มน้าวและปลอบโยน หลีกเลี่ยงการทำให้ผู้ป่วยสะเทือนใจ
วิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่เหมาะสมที่สุด ?
ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมเต้านม ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งแบบบาดแผลเล็ก พยาบาลผู้ดูแลแผนกเต้านมและเจ้าหน้าที่ล่าม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการรักษาโดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม เพื่อวางแผนการตรวจวินิจฉัย การรักษาและการควบคุมอาการ ยกระดับผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000