มะเร็งเต้านม ระยะแพร่กระจายสามารถพบได้ทั้งผู้ป่วยรายใหม่ และ การกลับซ้ำของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาครบแล้ว มะเร็งเต้านมที่พบบ่อยเป็นอันดับหนึ่งของสตรี แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการตื่นตัวในการตรวจคัดกรองด้วยตัวเองและการตรวจคัดกรองประจำปีมากขึ้น ทำให้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักมาพบแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกๆ หรือระยะลุกลามไม่มาก แต่กระนั้นยังพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมประมาณ 6-7% มาพบแพทย์ในระยะแพร่กระจายไปอวัยวะสำคัญ (Distant metastasis) และในกลุ่มที่มาพบแพทย์ในระยะแรกหรือลุกลามไม่มาก ได้รับการผ่าตัด ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมนหรือได้รับยามะเร็งมุ่งเป้าร่วม จนไม่พบก้อนมะเร็งแล้วก็ตาม ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วกลุ่มนี้พบว่าถ้าติดตามไป 5 – 10 ปี มีการกลับซ้ำในระยะแพร่กระจาย ถึง 11%

เมื่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายมาพบแพทย์ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและรังสีวินิจฉัยเพื่อประเมินการกระจายของตัวโรค การตรวจชิ้นเนื้อเป็นสิ่งสำคัญแม้ว่าจะเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีโรคกลับซ้ำ เพราะพยาธิสภาพชนิดของเซลล์มะเร็งเต้านมที่กลับซ้ำอาจแตกต่างจากชนิดเซลล์ของมะเร็งเต้านมครั้งแรก รวมทั้งแยกภาวะมะเร็งเต้านมกระจายมาที่อวัยวะนั้นๆ หรือเป็นมะเร็งครั้งที่สองที่มายังอวัยวะนั้น เพราะการรักษาจะแตกต่างกัน
6304-breast-cancer-1

การรักษาจะแยกตามการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาว่า ที่ผิวเซลล์มะเร็งตรวจพบดังต่อไปนี้อย่างไร

  1. ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนชนิด HER2 (HER2 positive)
  2. ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีนชนิด HER2 (HER2 negative) แต่พบตัวรับฮอร์โมนบนผิวเซลล์ (ER positiveหรือ PR positive)
  3. ไม่พบทั้งการกลายพันธุ์ของยีนชนิด HER2 และตัวรับฮอร์โมนบนผิวเซลล์ (Triple-negative)

* HER2 = Human Epidermal; Growth Factor receptor 2
ER = Estrogen receptor
PR = Progesterone receptor

1. การรักษาผู้ป่วย มะเร็งเต้านม ระยะแพร่กระจายที่พบการกลายพันธุ์ของยีนชนิด HER2 (HER2 positive) ให้การรักษาโดย

  • ยาเคมีบำบัด พบว่า อัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยอยู่ที่ 20.3 เดือน โดยยาเคมีบำบัดที่ใช้คือ Docetaxel
  • ยาเคมีบำบัดร่วมกับยามะเร็งมุ่งเป้า 1 ชนิด คือ Docetaxel + Trastuzumab พบว่าอัตราการรอดชีวิต เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 20.3 เดือน เป็น 25.1 เดือน และลดความเสี่ยงการเสียชีวิตถึง 20%
  • ยาเคมีบำบัดร่วมกับยามะเร็งมุ่งเป้า 2 ชนิด คือ Docetaxel + Trastuzumab + Pertuzumab พบว่าสามารถยืดชีวิตผู้ป่วยได้อย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับยามะเร็งมุ่งเป้าตัวเดียว กล่าวคือระยะเวลาของอัตราการรอดชีวิต50% เพิ่มจาก 40.8เดือน เป็น 56.5 เดือน ตามลำดับ
  • ในกรณีดื้อจากยา 3 ข้อแรก สามารถปรับมาใช้ยามะเร็งมุ่งเป้า Trastuzumab emtansine (Kadcyla) ซึ่งผู้ป่วยที่ดื้อยามาแล้ว ยังมีอาการตอบสนองต่อยาตัวนี้ และสามารถยืดชีวิตผู้ป่วยได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

2. การรักษาผู้ป่วยเต้านมระยะแพร่กระจายที่ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีนชนิด HER2 (HER2 negative) แต่พบตัวรับฮอร์โมนบนผิวเซลล์ (ER positive หรือ PR positive) ให้การรักษาโดย

เปลี่ยนยาต้านฮอร์โมนเดิมเป็นยากลุ่ม Aromatase inhibitor ร่วมการใช้ยามะเร็งมุ่งเป้า ชื่อ Ribociclib (Kisqali) พบว่าทำให้ระยะเวลาโรคสงบ (progression free survival) ได้นานขึ้นถึงสองเท่า คือ 17.7 เดือน เป็น 28.1 เดือน และเมื่อติดตามดูอัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยพบว่า การศึกษาติดตามมาเป็นเวลา 4 ปี กลุ่มที่ได้ยาต้านฮอร์โมนร่วมกับยามะเร็งมุ่งเป้า Ribociclib ยังไม่สรุปเวลาได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาว ต่างจากกลุ่มที่ได้ยาต้านฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว มีอัตราเฉลี่ยการรอดชีวิตที่ 40.7 เดือน

3. การรักษาผู้ป่วยเต้านมระยะแพร่กระจายที่ไม่พบทั้งการกลายพันธุ์ของยีนชนิด HER2 และตัวรับฮอร์โมนบนผิวเซลล์ (Triple-negative) ให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้เพียงวิธีเดียว

ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000