มะเร็งปากมดลูก หมายถึง ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดในหญิงอายุประมาณ 50 ปี อีกทั้งผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวนมากจะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง และผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุยังน้อยอีกด้วย

อัตราการเกิด มะเร็งปากมดลูก สูงแค่ไหน ?

มะเร็งปากมดลูกมีอัตราการเกิดโรคเป็นอันดับสองในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมดที่เกิดกับเพศหญิง ทุกปีมีโรคมะเร็งปากมดลูก 53,000 รายเกิดใหม่ทั่วโลก ซึ่ง 85% มาจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกคืออะไร ?

โรคมะเร็งปากมดลูกเกือบ 70% เกิดจากเชื้อไวรัส HPV รองลงมาคือการสูบบุหรี่ และภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มาเกี่ยวพันกันก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การติดเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia infectious) ความเคยชินในการบริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มักสัมผัสหรือใช้ยาที่มีฮอร์โมน มีประวัติทางครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก มักกินยาคุมกำเนิด มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งครรภ์เร็ว คลอดบุตรหลายครั้ง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

โรคมะเร็งปากมดลูกมีอาการแสดงอย่างไร ?

  1. ประจำเดือนมาผิดปกติหรือเมื่อหมดประจำเดือนแล้วยังมีเลือดออกทางช่องคลอด
  2. น้ำคัดหลั่งจากช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น น้ำคัดหลั่งจะมีสีขาวหรือปนเลือด อีกทั้งมีกลิ่นเหม็นคาว
  3. มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่และท้องผูก เป็นต้น
  4. มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในส่วนต่างๆ ของร่างกายที่แตกต่างกัน
  5. ซูบผอม โลหิตจาง เป็นไข้ และเกิดภาวะอ่อนเปลี้ยทางร่างกาย เป็นต้น

วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ?

  1. ตรวจทางนรีเวชตามกำหนด สามารถช่วยค้นพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ปากมดลูกในระยะแรกได้
  2. โรคปากมดลูกอักเสบมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ฉะนั้น ต้องกระตือรือร้นในการรักษาโรคปากมดลูกอักเสบ
  3. ทำความคุ้นเคยและเข้าใจอาการโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันที

วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ?

  1. การตรวจแปปสเมียร์ ( Pap smear ) : หญิงที่สมรสแล้ว เมื่อได้รับการตรวจทางนรีเวชหรือการตรวจเพื่อป้องกันโรคมะเร็งทั่วไป ต้องทำการตรวจแปปสเมียร์ด้วย
  2. การทดสอบด้วยไอโอดีน : ตรวจดูปากมดลูกด้วยกล้องคอลโปสโคป แล้วทาปากมดลูกและเยื่อเมือกช่องคลอดด้วยไอโอดีนที่มีความเข้มข้น 2% บริเวณที่ไม่เกิดสีจะเป็นผลลบ ซึ่งหากพบส่วนที่มีผลลบผิดปกติ ควรตัดชิ้นเนื้อส่วนนั้นส่งตรวจทางพยาธิวิทยาทันที
  3. การตรวจเนื้อเยื่อ ( Biopsy ) : เมื่อการตรวจชิ้นเนื้อเป็นผลลบ ควรนำชิ้นเนื้อตรงจุดที่หก เก้า สิบสองและสามบริเวณรอยต่อของเซลล์เยื่อบุผิวไปตรวจ หรือใช้เครื่องมือขูดช่องปากมดลูก เพื่อนำเซลล์ไปตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
  4. การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป : การตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคปไม่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกได้โดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการตรวจ Biopsy
  5. การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกออกเป็นรูปโคน ( Cone biopsy ) : เมื่อการตรวจ Biopsy ไม่สามารถชี้ชัดว่ามะเร็งไม่มีการลุกลาม ก็จะตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกออกเป็นรูปโคนเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัย

โรคมะเร็งปากมดลูกแบ่งระยะได้ดังนี้ ?

  • ระยะที่0 : เซลล์มะเร็งยังอยู่บริเวณผิวส่วนบนของปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะ 0 เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งในจุดกำเนิด
  • ระยะที่1 : เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก และเริ่มมีการลุกลาม
  • ระยะที่2 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปในช่องคลอด แต่ยังไม่ถึง 1/3 ของช่องคลอด หรืออาจลุกลามเข้าไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก แต่ยังไม่ถึงผนังของเชิงกราน
  • ระยะที่3 : เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าไปถึง 1/3 ส่วนล่างของช่องคลอด หรือลุกลามไปถึงกระดูกเชิงกราน หรือไปกดทับท่อไต ทำให้เกิดการอุดตันของระบบปัสสาวะ
  • ระยะที่4 : เซลล์มะเร็งลามออกจากส่วนอวัยวะเพศ หรือผ่านกระดูกเชิงกรานลามเข้าไปในลำไส้ตรง และกระเพาะปัสสาวะโดยตรง หรือแม้กระทั่งลามไปบริเวณอื่นๆ ที่ไกลออกไป

วิธีรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกแบบดั้งเดิมคืออะไร ?

  1. การตัดมดลูกทิ้งเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกที่ค่อนข้างพบบ่อย ซึ่งได้แก่
    1. การตัดมดลูกทิ้งทั้งหมด : โดยผ่าตัดปากมดลูกและมดลูกทิ้งทั้งหมด
    2. การตัดมดลูกทิ้งแบบถอนรากถอนโคน : โดยผ่าตัดปากมดลูก มดลูก ช่องคลอดส่วนบน รังไข่ ท่อนำไข่ และต่อมน้ำเหลืองที่มีการลุกลาม เป็นต้น
  2. การรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายรังสี มีข้อดีคือ คลื่นรังสีมีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่มีข้อเสียคือ มีผลกระทบต่อสมรรถนะรังไข่ของหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน
  3. การรักษามะเร็งปากมดลูกแบบเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษามะเร็งด้วยยาเคมี เหมาะสำหรับมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายและมะเร็งปากมดลูกที่กลับมาเกิดซ้ำ แต่จะเกิดอาการข้างเคียงค่อนข้างหนักในระหว่างการรักษา ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ร่างกายอ่อนแอนั้นจะทนไม่ค่อยไหว

วิธีดูแลพยาบาลหลังการผ่าตัดมะเร็งปากมดลูก ?

  1. การดูแลด้านจิตใจ : ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมักจะเกิดอารมณ์หวาดกลัว กระสับกระส่าย และหงุดหงิดได้ง่าย เป็นต้น ครอบครัวควรดูแลเอาใจใส่และให้กำลังใจผู้ป่วย
  2. การดูแลด้านสุขอนามัย : หลังการผ่าตัดควรล้างช่องคลอดด้านนอกและปากท่อปัสสาวะวันละ 2 ครั้ง เพื่อรักษาความสะอาดของช่องคลอด นอกจากนี้ ยังสามารถรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ
  3. การดูแลด้านการออกกำลัง : ฝึกซ้อมการหายใจส่วนท้องและฝึกขมิบทวารหนัก เพื่อเพิ่มพลังการหดตัวของกล้ามเนื้อท่อปัสสาวะ และกล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะ ช่วยฟื้นฟูระบบประสาทของกระเพาะปัสสาวะที่ได้รับความเสียหาย
  4. การดูแลด้านการบริโภค : ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง โปรตีนสูง และอาหารที่ย่อยง่ายให้มาก เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย

วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมที่สุด ?

ทีมผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงซึ่งรวบรวมแพทย์ศัลยกรรมด้านมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายแสงมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษามะเร็งแบบบาดแผลเล็ก พยาบาลผู้ดูแลแผนกมะเร็งและเจ้าหน้าที่ล่าม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะร่วมกันกำหนดแผนการรักษาโดยประเมินจากสภาพร่างกายและอาการของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก เพื่อยกระดับผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000