มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สูงที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง มีอุบัติการณ์อยู่ที่ประมาณ 9 % ของการวินิจฉัยผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในแต่ละปี โดยพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ประมาณ 17 % ในประเทศที่พัฒนาแล้ว

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งปอด ในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามแล้ว อาจพบอาการดังต่อไปนี้

  • ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
  • มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • ไอมีเลือดปน
  • เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
  • เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

ฉะนั้นเราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนลองเช็คลิสต์ความเสี่ยงของตัวเองดูกันนะคะ ว่าเราเป็นกลุ่มคนในข่ายเหล่านี้รึเปล่า…

คนที่สูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 – 30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่

คนที่อายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป แต่ก็สามารถพบมะเร็งปอดในคนที่อายุน้อยกว่า 40 ปีได้เช่นกัน

คนที่มีการสัมผัสสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อม เช่น แร่ใยหิน ( แอสเบสตอส ) ควันบุหรี่มือสอง ก๊าซเรดอน สารหนู และสารเคมีอื่นๆ เช่น ฝุ่นและไอระเหยจาก นิกเกิล โครเมียมและโลหะอื่นๆ หรือการสัมผัสสารจากการประกอบอาชีพ เช่น ยูเรเนียมโครเมียม นิกเกิล ควันเขม่าน้ำมันดีเซล

คนที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงที่ทรวงอก เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค Hodgkin lymphoma หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมเพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม

คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด อันได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด

คนที่ที่มีประวัติเป็นโรคปอดเรื้อรัง เช่น ปอดเป็นพังผืดหรือถุงลมโป่งพอง

ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000