เสียชีวิตอย่างสงบด้วย มะเร็งปอดระยะสุดท้าย สิริอายุ 71 ปี
ทางแผนกศูนย์มะเร็งตรงเป้าโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของพระเอกในตำนาน สรพงศ์ ชาตรี ด้วยนะคะ
วันนี้ทางเราจึงขอหยิบยกเรื่องนี้มาฝากแก่แฟนเพจ และผู้ที่กำลังติดตามเพจ FB ของเรากันคะ
“มะเร็งปอดระยะสุดท้าย”
ในความเป็นจริง การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดในระยะสุดท้ายนั้น โอกาสที่จะรอดชีวิตมีน้อย แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์และการรักษาในปัจจุบันกำลังเดินหน้าเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยเหล่านี้ ซึ่งความพยายามเหล่านั้นประสบผลสำเร็จและดีขึ้นเรื่อยๆ
ฉะนั้นหากได้อ่านสถิติ หรือข้อมูลการรักษาโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายที่ระบุว่าโอกาสหายแทบไม่มีก็อย่าเพิ่งรู้สึกท้อใจ
เราจะต้องรู้ว่าเราสามารถทำอะไรกับโรคที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราได้บ้าง แต่อาจต้องใช้เวลาในการรักษาอยู่มากพอสมควร
“การรักษา มะเร็งปอดระยะสุดท้าย ”
ชนิดของการรักษา
ในปัจจุบัน ผู้ป่วยจะมีส่วนร่วมในการรักษามะเร็งปอดได้มากกว่าที่ผ่านมา โดยแพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันออกแบบวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมไปตามอาการร่วมกัน
สาเหตุหลักๆ อาจเป็นเพราะทุกวันนี้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น ตลอดจนการตัดสินใจรักษาก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ป่วย ฉะนั้น หากเกิดการร่วมมือกันของทั้งสองฝ่าย ผลข้างเคียงของการรักษาก็จะอยู่ในระดับที่ผู้ป่วยรับได้ อีกทั้งอาจเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ป่วยมากกว่า
การรักษาแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
การรักษาเฉพาะที่ : ซึ่งการรักษาเฉพาะที่นั้น เป็นการรักษาเฉพาะตำแหน่งที่มะเร็งเกิด รักษาได้ด้วยการฉายรังสีและผ่าตัด/การผ่าตัดแบบส่องกล้อง
การรักษาทุกส่วนของร่างกาย : ซึ่งการรักษาในทุกส่วนนั้นก็เพื่อกำจัดตัวมะเร็งไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของร่างกาย หรือที่เราเรียกกันว่า
“การรักษาด้วยการแพทย์แม่นยำ”
( Precision Medicine )ซึ่งเป็นการประยุกต์งานวิจัยพันธุกรรมมะเร็งที่พบกลไกการเกิดมะเร็งจากพันธุกรรมกลายพันธุ์จนเซลล์ปอดกลายเป็นมะเร็ง โดยเราตรวจหากลไกมะเร็งได้จากเซลล์ปอดที่เราตัดออกมา( Tissue biopsy ) หรือตรวจจากเลือด ( Liquid biopsy ) แล้วเลือกใช้ยาให้ตรงกลไกนั้นๆ หรือที่เราเรียกกันว่า “การรักษาด้วยยามุ่งเป้า”
ตัวอย่างยามุ่งเป้าทำลายเฉพาะมะเร็ง ซึ่งเป็นยากินที่มีผลข้างเคียงต่ำ หรือยาภูมิคุ้มกันบำบัดแบบฉีดที่เป็นสารชีวภาพ ไม่ใช่เคมีบำบัด
พันธุกรรมการกลายพันธุ์ EGFR ใช้ยากิน Giotrif , Iressa , Tarceva หรือถ้าเป็นแบบT790M ก็ใช้ยากิน Tagrisso
พันธุกรรมการกลายพันธุ์ ALK , ROS1 ใช้ยากิน Xalkeri
ตรวจพบจุดอ่อนภูมิต้านทานแบบPD1ใช้สารชีวภาพแบบฉีด Opdivo , Keytruda , Tecentriq
การแพทย์แบบแม่นยำทำให้การรักษามะเร็งยุคใหม่ ได้ผลดีกว่ายาเคมีแบบเดิมเป็นเท่าตัวและยืดชีวิตผู้ป่วยได้นานเฉลี่ยมากกว่า 2 ปีหรือมากกว่าในผู้ป่วยบางราย
จึงเป็นความหวังใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดและมะเร็งอีกหลายชนิดที่มีการกลายพันธุ์ที่ตอบสนองต่อยา มีการวิจัยยามุ่งเป้าและยาภูมิคุ้มกันแบบใหม่ออกมาตลอดเวลาและใช้การตรวจพันธุกรรมจากเลือดมาติดตามการเป็นซ้ำและช่วยวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดได้อีกด้วย
ดังเช่นเคสตัวอย่างของศูนย์มะเร็งตรงเป้าของเราในวันนี้
ภาพตัวอย่างเปรียบเทียบผลเอ็กซเรย์ปอดของผู้ป่วยหญิงวัย 78 ปี หลังพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดก่อนและหลังรับประทานยามะเร็งมุ่งเป้า ได้ประมาณ 3 สัปดาห์
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000