มะเร็งช่องปาก เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มมะเร็งศีรษะและลำคอ ซึ่งประมาณ 90-95% ของมะเร็งช่องปากจะเป็นชนิดสะความัสเซลล์ (Squamous cell carcinoma) สำหรับชนิดอื่น ๆ เช่น มะเร็งชนิดอะดีโน (Adenocarcinoma) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะพบได้น้อยมาก ๆ
สาเหตุของมะเร็งช่องปาก
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก แต่จากการศึกษาพบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากที่สุดคือ การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์จัด ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่สูบและจำนวนปีที่สูบ ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นกันยิ่งดื่มมากโอกาสเสี่ยงก็มีมากขึ้น ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งช่องปากได้สูงกว่าคนปกติสูงถึงประมาณ 15 เท่า และประมาณ 90% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งช่องปากจะมีประวัติการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเวลานาน ส่วนผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์นั้นพบได้น้อยมาก นอกจากนี้ยังอาจมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น
- การถูกแสงแดดเป็นเวลานาน มีส่วนทำให้เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งของริมฝีปาก เพราะประมาณ 30% ของผู้ป่วยมะเร็งริมฝีปากจะมีประวัติสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน
- การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัดเกินไปอยู่เป็นประจำ เพราะความร้อนที่มาจากอาหาร (รวมถึงควันบุหรี่ และแอลกอฮอล์) จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุในช่องปาก เมื่อถูกระคายเคืองอยู่เป็นประจำจะทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและอาจทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ (ผู้ที่รับประทานอาหารร้อนจัดและดื่มแอลกอฮอล์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งช่องปากมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า)
- การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papillomavirus – HPV) ชนิด 16 และ 18 ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก จากการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (Oral sex)
- การมีสุขภาพในช่องปากไม่ดี เช่น ฟันผุเรื้อรัง รวมถึงการระคายเคืองเรื้อรังจากฟันเก ฟันหัก ฟันบิ่น ขอบฟันที่คม ซึ่งไปบาดเนื้อเยื่อในช่องปากทำให้เกิดแผลเรื้อรังเป็นเวลานาน
- การใส่ฟันปลอมที่หลวม ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง และอาจกักสารก่อมะเร็งต่าง ๆ เช่น สารเคมีในบุหรี่ แอลกอฮอล์ ทำให้สัมผัสกับเยื่อบุภายในช่องปากนานขึ้น
- การกินหรือเคี้ยวหมาก พลู ยาฉุน ยาเส้น การใช้ยานัตถุ์ เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่
- การใช้ยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- การบริโภคผักและผลไม้น้อย
- เคยเป็นโรคมะเร็งในบริเวณศีรษะและลำคอมาก่อน
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000
เว็บไซต์ : รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
ไทย | ဗမာစာ