“ภูมิคุ้มกันบำบัด” เกราะป้องกันติดตัวที่สร้างได้
โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมี “ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System)” ที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายของเรา รวมถึงเซลล์มะเร็ง
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันได้มีวิธี การรักษาโรคมะเร็งโดยใช้หลักการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ทำความรู้จัก “ภูมิคุ้มกันบำบัด”
เซลล์มะเร็งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาอยู่ในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะจับได้ว่าเซลล์มะเร็งเป็นสิ่งแปลกปลอม เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนที่อยู่บนเซลล์มะเร็งแต่เซลล์มะเร็งมีความสามารถในการหลบเลี่ยงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเอาชนะเซลล์มะเร็งได้ด้วยตัวเอง
จากการค้นคว้าวิจัยจึงสรุปได้ว่า หากเราสามารถเข้าไปปราบหรือหยุดการทำงานของเซลล์มะเร็งที่เข้าไปปกปิดระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันของเรามองไม่เห็นเซลล์มะเร็งได้ ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราสามารถเห็น เข้าถึง และเข้าไปต่อสู้และกำจัดเซลล์มะเร็งออกจากร่างกายได้
ปัจจุบันในงานวิจัยมีการใช้สารแอนติบอดี้ ทำให้การที่เซลล์มะเร็งปกปิดตัวเองสามารถเปิดเผยตัวเองขึ้นมาได้ เรียกว่า Checkpoint Inhibitor สามารถนำมาใช้การรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด และสามารถนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจาย (ระยะที่ 4) รวมถึงเริ่มมีการนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้นมากขึ้นด้วย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า “ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) หรือ Checkpoint Inhibitor ” เป็นวิธีที่ช่วยปลดล็อคการทำงานของเม็ดเลือดขาว ที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่ายกายสามารถต่อต้านเซลล์มะเร็งได้
หลักการทำงานเป็นยังไงนะ
แพทย์จะให้ยากับผู้ป่วย โดยไม่ได้หวังผลเพื่อให้ยาเข้าไปกำจัดเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่หวังให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าไปต่อสู้กับเซลล์มะเร็งเอง ผลข้างเคียงในการใช้วิธีนี้รักษาโรคมะเร็งจึงมีน้อยมากเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด ซึ่งจะเป็นวิธีที่เข้าไปฆ่าเซลล์ได้โดยตรง แต่ก็จะส่งผลไปถึงเซลล์ปกติอื่นๆ ใกล้เคียงด้วย
ปัจจุบันไทยเราสามารถหาซื้อยาที่จะทำการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีนี้ได้แล้ว แต่ข้อเสียคือยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงอยู่ เนื่องจากเป็นยาใหม่ และมีการทำงานวิจัยค่อนข้างมาก ดังนั้นอาจจะมีกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถเข้าถึงการรักษาด้วยวิธีนี้ได้
ผลข้างเคียงจากการทำงานของภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
แม้ว่าจะให้ผลในการรักษาที่ดี และมีผลข้างเคียงน้อยมาก แต่การใช้วิธีภูมิคุ้มกันบำบัดก็อาจส่งผลข้างเคียงได้บ้าง โดยอาจทำให้เกิดอาการคล้ายๆ กับโรคที่มีภูมิคุ้มกันไวมากเกินไป แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการนี้มีน้อยมาก โดยพบว่าผลข้างเคียงที่จะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยมีน้อยกว่า 5%
ปัจจุบันการใช้วิธีภูมิคุ้มกันบำบัดสามารถใช้ร่วมกันกับวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น เคมีบำบัด หรือยาพุ่งเป้าอื่นๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น
ตัวอย่างโรคมะเร็ง ที่สามารถรักษาได้ด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด
มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิด
มะเร็งปอด
มะเร็งศีรษะและลำคอ
มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะและระบบทางเดินปัสสาวะ
มะเร็งไต
มะเร็งตับ
มะเร็งเต้านมบางชนิด
มะเร็งกระเพาะอาหารที่ดื้อต่อยาเคมีบำบัด
มะเร็งลำไส้ บางชนิด
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000