ปวดท้อง ปวดเรื้อรัง อาหารไม่ย่อย ไม่สบายท้อง เสี่ยง มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือไม่
รู้ทันเสี่ยง เลี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหารมีหลายลักษณะ ทั้งเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในเยื่อบุกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองของกระเพาะอาหาร และมะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือมะเร็งจิสต์ (GIST) โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป
สาเหตุ ของ ” มะเร็งกระเพาะอาหาร ”
ด้วยลักษณะที่หลากหลายของมะเร็งกระเพาะอาหารจึงทำให้สาเหตุมะเร็งกระเพาะอาหารมีความแตกต่างกันออกไป ได้แก่
การติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (H. Pylori) ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น
การอักเสบของกระเพาะอาหารเรื้อรัง จากการกินอาหารบางชนิดที่ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เช่น อาหารปิ้งย่าง อาหารรมควัน อาหารรสเค็ม หรืออาหารหมักดอง
การสูบบุหรี่จัด หรือดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ
พันธุกรรม รวมไปถึงผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งที่ส่วนอื่นของร่างกายมาก่อน
วิธีการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร
การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง เพื่อวางแผนการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพ และเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
โดยแพทย์จะประเมินวิธีการรักษาจากหลายปัจจัย เช่น ขนาด ตำแหน่ง ลักษณะของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคและการกระจายของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยไม่มีข้อจำกัดทางโรคประจำตัวหรือโรคร่วมที่มากเกินไป หากพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรก ควรประเมินถึงการผ่าตัดออกทั้งหมด และในบางรายอาจจะมีการรักษาเสริม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) อย่างเดียว หรือเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีรักษา (Radiotherapy) แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
รักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วย ภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสู้เซลล์มะเร็ง
หากเป็นระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้ หรือระยะแพร่กระจาย และผู้ป่วยยังมีสุขภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี การรักษามะเร็งระยะนี้สามารถใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) โดยอาจให้ร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) หรือยายับยั้งการสร้างหลอดเลือด (Anti-angiogenesis) รวมถึงการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการใช้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง เพื่อยับยั้งระบบควบคุมและสั่งการให้มีการทำลายเซลล์แปลกปลอม หรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย เพราะบางกรณีเซลล์มะเร็งจะอาศัยระบบนี้ในการซ่อนตัวจากการถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ยากลุ่มนี้จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจจับเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดผลข้างเคียงได้มากขึ้นอีกด้วย
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000