เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจจะเกิดจากหลัง ผ่าตัดเต้านม ผู้ป่วยได้ถูกตัดเต้านมและต่อมน้ำเหลืองออกไปแล้ว จะทำให้ผู้ป่วยปวดแผลจนไม่อยากจะยกแขน ทำให้เกิดข้อไหล่ติดและแขนบวมได้ จึงขอนำเสนอการปฏิบัติตัวดังนี้

การออกกำลังกายและข้อควรปฏิบัติ ในผู้ป่วยผู้หลัง ผ่าตัดเต้านม

ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดโดยเฉพาะในรายที่ผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หลังผ่าตัดอาจมีอาการเจ็บบริเวณแผล หลายรายจึงไม่พยายามยกแขน และบางรายอาจเกิดแผลเป็นดึงรั้งที่รักแร้ ซึ่งจะทำให้เกิดข้อไหล่ติด ท้ายที่สุดผู้ป่วยจะยกแขนขึ้นได้ไม่เต็มที่หรือบางรายอาจยกแขนไม่ได้เลย การป้องกันการเกิดข้อไหล่ติดที่ดีที่สุด คือ ให้ผู้ป่วยออกกายบริหารแขนและหัวไหล่เสียตั้งแต่ในระยะแรกๆ หลังผ่าตัดเพื่อป้องกันข้อไหล่ติดและแขนบวม

การบริหารแขนและข้อไหล่

ท่ากายบริหารอาจมีได้หลากหลาย แต่เราขอแนะนำท่าบริหารที่ทำได้ง่ายและมีประโยชน์ทั้งสิ้นเจ็ดท่า ทั่วไปควรทำการบริหารแต่ละท่า วันละ 3-4 รอบ รอบละ 5-10 ครั้ง

  1. ท่ากายบริหารยกแขน นอนราบบนเตียง โดยให้หัวไหล่ผ่อนคลาย และจับมือประสานกันด้านหน้า ยกแขนขึ้นจนอยู่เหนือศีรษะ โดยให้ข้อศอกเหยียดตรงอยู่ตลอดเวลา ทำค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที แล้วค่อยๆลดระดับลง แล้วทำซ้ำอีก 5-10 รอบ
  2. ท่ากางแขน ยืนวางแขนข้างลำตัว ยกแขนข้างที่ทำผ่าตัดเต้านมออกด้านข้างขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังจากยกแขนได้มากที่สุดแล้วให้ยกค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที หลังจากนั้นให้นำแขนลงมาวางข้างลำตัวตามเดิม ทำซ้ำอีก5-10 ครั้ง
  3. ท่าไต่กำแพง (ด้านข้าง) ยืนหันข้างเข้าหาฝาผนัง มือข้างที่ทำผ่าตัดเต้านม วางทาบกับผนังค่อย ๆ ไต่นิ้วไปตามผนัง ขึ้นไปพร้อมขยับตัวให้ชิดกำแพง เรื่อย ๆ พยายามให้ได้สูงขึ้นไป จนกระทั่งสามารถเหยียดแขนเหนือศีรษะเต็มที่ จากนั้นให้ยกแขนนิ่งไว้และนับ 1-5 อย่างช้าๆ หลังจากนั้นลดแขนลงมาวางข้างลำตัวตามเดิม ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
  4. ท่าไต่กำแพง (ด้านหน้า) ยืนหันหน้าเข้าหาฝาผนัง มือข้างที่ทำผ่าตัดเต้านม วางทาบกับผนังค่อย ๆ ไต่นิ้วไปตามผนัง ขึ้นไปพร้อมขยับตัวให้ชิดกำแพง เรื่อย ๆ พยายามให้ได้สูงขึ้นไป จนกระทั่งสามารถเหยียดแขนเหนือศีรษะเต็มที่ เมื่อยกแขนได้สูงสุดแล้วให้ยกค้างไว้ นับ1-5 ช้าๆ แล้วนำแขนมาวางข้างลำตัวตามเดิม ทำซ้ำ 5-10 ครั้งเช่นกัน
  5. ท่าเหยียดแขน ยืนวางแขนข้างลำตัวและเหยียดแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นไปทางด้านหลังจับมือด้วยกันแล้วค่อย ๆ ยกแขนขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทำซ้ำ5-10 ครั้ง(ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการทรงตัว ควรหลีกเลี่ยงการบริหารท่านี้)
  6. ท่ากายบริหารหมุนหัวไหล่ วางมือข้างที่ทำผ่าตัดเต้านมไว้บนหัวไหล่แล้วหมุนหัวไหล่เป็นวงกลมไปข้างหน้าและข้างหลัง ทำซ้ำอย่างละ 5-10 ครั้ง
  7. ท่าบิดไหล่ ประสานมือทั้ง 2 ข้างที่ท้ายทอย และพยายามกางข้อศอกให้ได้มากที่สุด เมื่อกางข้อศอกได้มากที่สุดแล้วให้นับ 1-5 ช้าๆ แล้วค่อยๆลดแขนลงมาวางที่ข้างลำตัวตามเดิม ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง

ท่าการปฏิบัติตน 7 ข้อนี้ ถ้าทำเป็นประจำสุขภาพของท่านก็จะดีขึ้น ด้วยรักและห่วงใยจากโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000