ปัจจัยทาง พันธุกรรม ความเสี่ยงโรคมะเร็ง จะทำให้คนๆหนึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากกว่าคนทั่วไป เป็น 10 ถึง 100 เท่า
ผู้ป่วยหลายคนที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำ แต่กลับไม่ได้ช่วยให้ตรวจพบโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ นั่นก็เพราะ
- การตรวจคัดกรองสุขภาพแบบทั่วไป เช่น MAMMOGRAM, ตรวพันธุกรรมความเสี่ยงโรคมะเร็งจภายใน, ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น tumor markers จะตรวจพบว่าผิดปกติ ต่อเมื่อคุณเกิดมะเร็งขึ้นแล้ว
- การตรวจสุขภาพแบบทั่วไป ได้รับการออกแบบมาสำหรับคนส่วนใหญ่แบบกว้างๆ ซึ่งอาจไม่เจาะลึกเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมต่อการเกิดมะเร็ง
ในปัจจุบัน เราสามารถตรวจความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการตรวจยีนหรือการตรวจ DNA เพื่อทราบว่าใครมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดมะเร็งในอนาคต ทั้งมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งสำคัญอื่นๆ อีกหลายชนิด ก่อนที่จะเกิดโรคมะเร็งขึ้น
เมื่อทราบผลว่ามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งจากการตรวจยีน แพทย์จะวางแผนการดูแลสุขภาพเชิงลึกและเชิงรุก โดยระบุปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาหาร การใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้นๆ และวางระบบการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ( total lifestyle modification ) ทั้งการจัดอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทาน การออกกำลังกายที่เหมาะสม
รวมทั้งวางแผนการตรวจเชิงลึกสำหรับมะเร็งตามผลตรวจทุก 6-12 เดือน ได้แก่ การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร, การตรวจเอกซเรย์ CT scan หรือ MRI ตลอดจนการผ่าตัดเชิงป้องกัน ดังเช่น ตัวอย่างดาราฮอลลีวูดชื่อดัง คุณแองเจลิน่า โจลี่ ที่ทำการผ่าตัดเต้านมแบบสงวนเต้าหลังจากตรวจยีนแล้วพบความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงมากเมื่ออายุมากขึ้น นับเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งในการตรวจป้องกันการเกิดโรคแห่งความเสื่อมและมะเร็ง
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000
เว็บไซต์ : รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
ไทย | ဗမာစာ