ทำไมต้องตรวจพันธุกรรม #ความเสี่ยงโรคมะเร็ง
หลายครั้งที่เราสงสัยว่าทำไมบางคนดูสุขภาพแข็งแรง ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่ทำงานหักโหม แต่สุดท้ายกลับพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลายรายล้มป่วยเฉียบพลัน เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งก็เป็นระยะสุดท้ายเสียแล้ว
#โรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งนอกจากปัจจัยก่อมะเร็ง เช่น มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือได้รับสารรังสีแล้ว อีกสาเหตุสำคัญก็คือ #ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม
ผู้ป่วยหลายรายที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำ แต่กลับไม่ได้ช่วยให้ตรวจพบโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ นั่นก็เพราะการตรวจสุขภาพแบบทั่วไป ได้รับการออกแบบมาสำหรับคนส่วนใหญ่แบบกว้างๆ ซึ่งอาจไม่เจาะลึกเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมต่อการเกิดมะเร็ง เพราะการตรวจคัดกรองแบบตรวจสุขภาพ เช่น MAMMOGRAM, ตรวจภายใน, ตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร, ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เช่น tumor markers จะพบว่าผิดปกติเมื่อเกิดโรคมะเร็งขึ้นแล้ว
ปัจจัยทางพันธุกรรมจะทำให้คนๆ หนึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากกว่าคนทั่วไป เป็น 10 ถึง 100 เท่า เพราะทุกคนมีการกลายพันธุ์ของยีน ( Mutation ) ที่ได้รับถ่ายทอดจากพันธุกรรมต่างกัน ซึ่งหลาย Mutation เป็นสาเหตุในการเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง
ในปัจจุบัน เราสามารถตรวจความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการตรวจยีนหรือการตรวจ DNA เพื่อทราบว่าใครมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดมะเร็งในอนาคต ทั้งมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ ตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งไต มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งถุงน้ำดี และมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง และมะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย
เมื่อทราบผลว่ามีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งจากการตรวจยีน แพทย์ก็จะวางแผนการดูแลสุขภาพเชิงลึกและเชิงรุก โดยระบุปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาหาร การใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้นๆ และวางระบบการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ทั้งการจัดอาหารที่ควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน การออกกำลังกายที่เหมาะสม วางแผนการตรวจเชิงลึกสำหรับมะเร็งตามผลตรวจทุก 6-12 เดือน ได้แก่ การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร, การตรวจเอกซเรย์ CT scan หรือ MRI รวมตลอดจนการผ่าตัดเชิงป้องกัน
ดังตัวอย่าง
ดาราฮอลลีวูดชื่อดัง คุณแองเจลิน่า โจลี่ ที่ทำการผ่าตัดเต้านมแบบสงวนเต้าหลังจากตรวจยีนแล้วพบความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงมากเมื่ออายุมากขึ้น