เพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งปอด ด้วยการตรวจหายีน BRAF V600E mutation
BRAF ( v- Raf murine sarcoma viral oncogene homolog B) V600E เป็นกลุ่มของ BRAF mutation ที่พบได้บ่อยที่สุด ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma สามารถพบ BRAF mutationได้ร้อยละ 1-2 ผู้ป่วยที่มี BRAF mutation ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีประวัติการสูบบุหรี่ซึ่งแตกต่างกับการพบ EGFR mutation หรือ ALK rearrangement นอกจากนี้โดยทั่วไปการตรวจพบ BRAF mutation มักจะตรวจไม่พบ EGFR mutation หรือ ALK rearrangement
แนวทางการรักษาของ National Comprehensive Cancer Network(NCCN) แนะนำให้มีการตรวจ BRAF V600E mutation ในผู้ป่วย NSCLC ระยะแพร่กระจาย ( metastasis ) เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกการรักษา เพราะผู้ป่วยมะเร็งที่แพร่กระจายจะตรวจพบการก่อการกลายพันธุ์ที่ BRAF V600E ประมาณ 85% ของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ตรวจพบ BRAF V600E mutation สามารถให้การรักษาด้วยยามะเร็งแบบมุ่งเป้า ชนิดรับประทาน ในกลุ่ม BRAF inhibitor ซึ่งทำให้มีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.1 เดือน หรือ สามารถให้การรักษาด้วยยา Combination therapy ในกลุ่ม BRAF inhibitor ร่วมกับ MEK inhibitor ซึ่งทำให้มีอัตราการรอดชีวิตที่ 12 เดือนเท่ากับ 72 % นอกจากนั้นการรักษาด้วยยาเคมีบาบัด 2 ชนิดร่วมกัน ( doublet chemotherapy) จะทำให้มีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.7 เดือน ซึ่งล้วนเป็นความหวังให้กับผู้ป่วยด้วยทั้งสิ้น