การตรวจวัดระดับเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย (Natural cytotoxic activity “NK Activity”)
ทำไมบางคนเป็นมะเร็ง บางคนไม่เป็น
เป็นคำถามคาใจของหลายๆคน สำหรับโรคมะเร็งที่ปัจจุบันพบว่า มีคนป่วยเป็นโรคนี้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า มีการให้
ข้อมูลความรู้มากมายถึงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งได้มากมาย
ในการค้นหาคำตอบในเรื่องนี้ นำไปสู่การศึกษาจนพบว่า ในร่างกายของเรานั้น มีเซลล์ที่ตายและเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลา
และการสร้างเซลล์แต่ละครั้งย่อมมีโอกาสเกิดเซลล์ที่ผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ และอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่ทำไมบางคนเป็นมะเร็ง บางคนไม่เป็น นั่นเพราะ โดยธรรมชาติแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็ง หรือเซลล์ที่มีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้ เราเรียกเซลล์นี้ว่า เซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cells) หรือ NK Cells ดังนั้นแน่นอนว่า คนที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนี้ในปริมาณที่ต่ำกว่ามาตรฐานย่อมมีความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะไม่ถูกทำลาย และเติบโตจนเป็นโรคมะเร็งได้
รู้จักกับ เซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cells) หรือ เอ็นเค เซลล์ (NK Cells)
- เซลล์เพชฌฆาต เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง
- เซลล์เพชฌฆาตมีเพียง 1% ของเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกาย
- เซลล์เพชฌฆาต มีความสามารถในการแยกแยะและมุ่งเป้าทำลายขจัดเซลล์มะเร็ง เชื้อโรค รวมทั้งไวรัสได้
- เซลล์เพชฌฆาต มีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งสูงเกือบ 100 เท่า เมื่อเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดอื่น ๆ
จะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีเชลล์เพชฌฆาต (Natural Kiler Cells) หรือ เอ็นเคเซลล์ (NK Cells) เพียงพอหรือไม่?
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพปัจจุบันนี้ เราสามารถตรวจนับจำนวนเซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cells) หรือ เอ็นเค เซลล์ (NK Cells)ในเลือดได้แล้วโดยใช้การวัดในระดับจุลภาพด้วยการเรืองแสง (Microfluorometry)
เนื่องจากเซลล์เพชฌฆาต (Natural Killer Cells) หรือ เอ็นเค เซลล์ (NK Cells) เป็นก้าวแรกที่ทำการตรวจจับ และฆ่าเซลล์มะเร็ง ก่อนที่เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนไม่อาจควบคุมได้ ในปัจจุบันจึงมีการตรวจนับจำนวนเอ็นเค เซลล์ (NK Cells) และตรวจวัดระดับ NK Activity ควบคู่กันเพื่อประเมินความสามารถของเซลล์เพชฌฆาตของแต่ละบุคคลในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน NK Activity และตรวจนับจำนวน NK Cells ในเลือด
- ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวหรือญาติพี่น้องป่วยด้วยโรคมะเร็ง
- ผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อบ่อย ซึ่งสะท้อนว่า ภูมิคุ้มกันบกพรอง
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคไต เบาหวานและไขมันในเลือดสูง
- ผู้ที่ตับอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งส่งเสริมการก่อมะเร็ง
- ผู้ที่อยู่ในระหว่างการรักษามะเร็ง หรือผู้ที่รักษามะเร็งจนหายขาดแล้วต้องการู้ว่า มีโอกาสกลับมาเป็นช้ำหรือไม่
- ผู้ที่มีเวลาพักผ่อนน้อย อดนอนบ่อย เครียด ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ผู้สูบบุหรี่
- ผู้ที่มีภาวะโภชนาการจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน เช่น ขาดการบริโภคผลไม้ ผัก หรือโปรตื่น
วิธีการเพิ่มภูมิคุ้มกัน กรณีที่ระดับภูมิคุ้มกันและมีจำนวน NK Cells อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน
- พบแพทย์ เพื่อหาข้อมูลความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะมะเร็ง
- การเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วย เอ็นเค เซลล์ (NK Cells) หรือเรียกว่า Immunotherapy by Win-K Cells
- การเสริมอาหารที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000
เว็บไซต์ : รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
ไทย | ဗမာစာ