โรคมะเร็ง เป็นโรคที่หลายๆคนเกิดความกังวลใจไม่ใช่น้อย เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย และมักลุกลามรวดเร็ว ทั้งที่ผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการออกมา ปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองมะเร็ง ทำให้สามารถค้นหาโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นได้ ช่วยป้องกันเซลล์มะเร็งลุกลามและสามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาได้มากขึ้น การตรวจคัดกรองมะเร็งจึงเป็นเหมือนการตรวจสุขภาพประจำปีทั่วไปเพียงแต่เจาะลึกที่ไปที่เชื้อมะเร็งเพิ่มขึ้น
ดังนั้นควรเพิ่มการตรวจคัดกรองมะเร็ง เข้าไปในรายการตรวจด้วยเพื่อความปลอดภัย และอุ่นใจกว่ามากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับตรวจคัดกรองมะเร็งชาย ควรตรวจมะเร็งชนิดใดบ้าง
- Alpha Fetoprotien (AFP) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP ใช้สำหรับตรวจหามะเร็งตับในกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยตับแข็ง, ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี เพื่อทำการคัดกรองกลุ่มมะเร็งตับในเพศชาย
- Prostate Specific Antigen (PSA) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSAเป็นการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดมาวิเคราะห์หาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นสารที่ต่อมลูกหมากผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ ทั้งนี้ การมีสารนี้เพียงเล็กน้อยในเลือดถือว่าเป็นเรื่องปกติ อย่างไรก็ตาม หากพบสารนี้ในระดับที่สูงกว่าปกติ อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ การอักเสบ การขยายตัวหรือมะเร็งในต่อมลูกหมากได้
- Cancer Antigen 19-9 (CA19-9) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน CA19-9 สามารถตรวจพบได้ในมะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่
- Carcinoembryonic Antigen (CEA) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA คือการตรวจหาสารบ่งชี้มเร็งลำไส้มักมีค่าที่สูงผิดปกติในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร, มะเร็งตับอ่อน เป็นต้น ซึ่งการตรวจ CEA ควรทำร่วมกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองเชิงป้องกันโดยละเอียด
ทั้งนี้การเลือกใช้วิธีการตรวจนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของแต่ละมะเร็งที่ต้องการคัดกรองและตามความเหมาะสมตามเกณฑ์ของแต่ละบุคคล ดังนั้นควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ที่ดูแลเพิ่มเติม