การให้ยาและสารอาหารทางหลอดเลือด ผ่านพอร์ต (Port-A-Cath)
Port-A-Cath หรืออาจเรียกสั้นๆว่า “พอร์ต”
เป็น อุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนังของร่างกาย เพื่อใช้ในการนำตัวอย่างเลือดหรือการให้ยาต่างๆเข้าสู่หลอดเลือดดำในร่างกาย พอร์ตจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนตัวพอร์ต (Port) และหลอด (catheter)
ในส่วนตัวพอร์ตนั้นทำมาจากซิลิโคน เมื่อฝังใต้ผิวหนังแล้วจะทำให้ผิวหนังนูนขึ้นมาก ซิลิโคนที่ใช้ทำพอร์ตจะออกแบบพิเศษมาเพื่อใช้ในการใช้เข็มฉีดยาเจาะซ้ำได้หลายๆครั้ง โดยไม่เกิดการรั่ว และส่วนหลอด (catheter) ที่ต่อจากส่วนของพอร์ตนั้น จะสอดเข้าไปที่หลอดเลือดดำใหญ่ในร่างกาย เช่น เส้นเลือดดำที่คอ (jugular vein) เส้นเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้า (subclavian vain) หรือหลอดเลือดดำเวนาคาวาบน (superior vena cava)
ข้อบ่งชี้สำหรับผู้ป่วยที่ควรได้รับการใส่พอร์ตคือ
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาหรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานานหรือบ่อยๆ ซึ่งมักเป็นผู้ป่วยมะเร็ง
- การให้ยาเคมีบำบัด สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- การให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
- การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำในระยะยาวแบบไม่ต่อเนื่อง ในผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ
- การให้ยาเคมีบำบัดเฉพาะที่
- การให้ยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- การสแกนแบบคอนทราสต์สูง ในผู้ที่ต้องทำการ CT สแกน
ข้อดีของการใส่ Port-A-Cath
แพทย์พยาบาลสามารถให้ยาหรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำใหญ่ได้ง่าย ผู้ป่วยไม่ทรมานจากการเจาะเส้นเลือดตามแขนบ่อยๆ และมีโอกาสติดเชื้อแทรกซ้อนต่ำ
นอกจากนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะเลือดหรือการให้ยาทางพอร์ต จะมีความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานน้อยกว่าวิธีปกติ เนื่องจากบริเวณผิวหนังที่ฝังตัวพอร์ตนั้น มีความหนาของผิวหนังมากกว่า และความรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าผิวหนังบริเวณแขน
ผู้ป่วยสามารถได้รับยาหรือสารอาหารที่มีความเข้มข้นสูง โดยไม่เกิดอาการอักเสบของหลอดเลือดดำ เพราะพอร์ตจะต่อเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ ต่างจากการให้ยาทางหลอดเลือดดำที่แขน ซึ่งเป็นหลอดเลือดดำเล็กกว่า จะเกิดการอักเสบของเส้นเลือดดำได้ง่าย รวมทั้งอาจเกิดเส้นเลือดแตกง่ายกว่า ทำให้ยาแทรกตามเนื้อเยื่อแขนได้ ส่งผลเสียต่อผู้ป่วย
Port-A-Cath
สามารถใช้ในการเจาะเลือดหรือการแทงเข็มเพื่อให้ยาได้ประมาณ 2000 ครั้งต่อพอร์ต โดยเฉลี่ย และสามารถอยู่กับผู้ป่วยได้หลายปีโดยไม่เกิดอันตราย
การใส่ Port-A-Cath
การใส่พอร์ตกระทำโดย ศัลยแพทย์ (Surgeon) หรือ แพทย์รังสีร่วมรักษา (Interventional radiologist) เป็นหัตถการเล็กที่ทำโดยการวางยาชาเฉพาะที่ หรือยาสลบ (ในบางกรณี)
วิธีทำคือการกรีดผิวหนังให้เป็นรอยเพียง 1 -2 รอย จากนั้นแพทย์จะทำการใส่สายหลอด (catheter) ลงไปยังหลอดเลือดดำ แล้วตามด้วยตัวพอร์ต จากนั้นเย็บปิดผิวหนัง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แพทย์จะทำการเอ็กซเรย์หลังใส่พอร์ตเพื่อตรวจดูตำแหน่งของสายหลอดcatheterอีกครั้งหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเล็กน้อยหลังหัตถการ แต่สามารถระงับอาการปวดได้ด้วยยาแก้ปวดธรรมดา
ปรึกษาเรื่อง “มะเร็ง” ได้ที่ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทร. 093-328-5561
Line: HIFU9000
Email: [email protected]
ที่อยู่: 90/5 ม.13 ซอยกิ่งแก้ว 25/1 ถ.กิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ใกล้กับ สนามบินสุวรรณภูมิ
แผนที่: https://maps.app.goo.gl/9jjLa
#โรคมะเร็งปอด #มะเร็งต่อมลูกหมาก #มะเร็งตับ #มะเร็งท่อทางเดินน้ำดี #มะเร็งต่อมไทรอยด์ #มะเร็งเต้านม #มะเร็งกระเพาะอาหาร #มะเร็งถุงน้ำดี #มะเร็งลำไส้ใหญ่ #มะเร็งรังไข่ #มะเร็งกระดูก #มะเร็ง #เนื้องอกมดลูก #รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด #โรงพยาบาลจุฬารัตน์9แอร์พอร์ต
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อควรระวังด้านสุขอนามัย
ในการให้ยาหรือการรักษาด้วยยาและการปฐมพยาบาลผู้ได้รับการรักษาด้วยยาหรือการรักษาด้วยยาและการรักษาด้วยยา
การเตรียมบริเวณที่จะฉีด
- เห็นผิวบริเวณที่มีการฝังตัวทุกครั้งที่มีอาการบวมแดงร้อนหรือสารคัดหลั่งหรือไม่
- เช็ดทำความสะอาดพื้นที่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (ฆ่า 2% 70%) โดยเช็ดออกประมาณ 2 นิ้วควรใช้คีมและปล่อยให้แห้งเอง
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำแผลโดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
- เช็ดทำความสะอาดผิวหนังบริเวณพอร์ตที่จะแทงเข็มอีกครั้งและปล่อยให้น้ำยาแห้งเอง
- ใช้ syringe เตรียม 9% NaCl ไว้แล้วต่อไปกับเข็มและปิด clamp ควรใช้เข็มที่มีสายต่อออกมาจากเข็ม (ให้ใช้ syringe ขนาด 10 mL หรือสายที่ต่อเข้าทางเส้นเลือดเกิดการอุดตัน)
การแทงเข็มที่พอร์ต
- ควรตรวจสอบการทำงานของพอร์ตและสายก่อนโดยตรวจสอบจากการไหลย้อนกลับของเลือดและการฉีด 9% NaCl 5 mL หากไม่มีเลือดไหลย้อนกลับแสดงให้เห็นว่าเกิดปัญหากับการแจ้งเตือนให้แพทย์ทราบ
- ใช้ปลายนิ้วสัมผัสที่แน่นหนาแน่นหนากว่าจะรู้สึกได้ถึงปลายแขนสัมผัสได้ถึงความแน่นหนา (สัมผัสได้ถึงความรู้สึกของผู้คน) ขั้นสุดท้ายและอาจส่งผลให้เกิดการเดินทางของ septum
ปลายเข็มที่เกิดการเสียหาย
- ควรเปลี่ยนสถานที่รับเข็มเพื่อการเตรียมใช้งานได้นาน
- อาจมีการใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดขณะแทงเข็มเพื่อให้ยาหรือสารละลายแก่ผู้ป่วยได้
- หลังการใช้เข็มฉีดยาทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่มีเข็มฉีดยาและยาฆ่าเชื้อและกำจัดสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหรือไม่เกิน 7 วัน
การทำแผล
- หลังจากแทงเข็มเพื่อให้ยาหรือสารละลายแก่ผู้ป่วยค้างไว้ควรใช้แถบกาวติดทับเข็มเพื่อป้องกันไม่ให้เข็มขยับหรือเลื่อนหลุด
- ควรใช้ transparent dressing ปิดทับบริเวณเข็มและพอร์ตอีกครั้ง เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นบริเวณที่ให้ยาว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่
- ควรทำการเปลี่ยนแผ่นปิดแผลทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเข็ม หรือเมื่อครบ 7 วัน หรือในกรณีอื่นๆที่มีความจำเป็น และเมื่อแผ่นปิดแผลเสียหายหรือหลุดออกจากผิวหนัง
- หากพอร์ตไม่ได้ใช้งาน ไม่จำเป็นต้องทำการปิดแผล
การให้ยาหรือสารละลาย
- การให้ยาหรือสารละลายผ่านทางพอร์ตต้องใช้เข็มชนิดพิเศษที่ใช้กับพอร์ตโดยเฉพาะ คือเข็มที่ปลายมีลักษณะโค้งเล็กน้อย เพื่อป้องกันการทำลาย silicone septum โดยเข็มที่ใช้ได้ เช่น Surecan® Straight หรือ Surecan® Angled หรือเข็มชนิดพิเศษที่มีสายต่อออกจากเข็ม เช่น Surecan® Winged, Cytocan® หรือ Surcan® Safety II ยี่ห้อของเข็มอาจต่างจากนี้ได้ถ้าเป็นเข็มที่ผลิตมาสำหรับพอร์ตโดยเฉพาะ การเลือกเข็มแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการให้ยาหรือสารละลายและความเหมาะสมกับข้อบ่งใช้
- เข็มชนิดพิเศษนี้จะมีความยาวหลายขนาด การเลือกความยาวของเข็มขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละรายและลักษณะของสารที่จะให้
การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือดสามารถให้ได้โดยควรเลือกใช้เข็มขนาด 19G หรือ 20G เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง หลังจากให้เรียบร้อยแล้วให้ล้างพอร์ตและสายตามวิธีปฏิบัติที่กล่าวไปข้างต้น การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (Partial Parenteral Nutrition, PPN)
โดยทั่วไปการให้อาหารทางพอร์ตต่อเนื่องตลอดจะทำให้พอร์ตมีการอุดตันหรือติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้สารอาหารชนิด Total parenteral neutrition (TPN) หากจำเป็นอาจให้เป็นPPN เป็นครั้งคราวได้ ควรเลือกใช้เข็มขนาด 19G หรือ 20G เพื่อให้สารละลายสามารถไหลได้สะดวก หลังจากให้สารอาหารเรียบร้อยแล้วให้ทำการล้างด้วยการฉีด 0.9% NaCl 10 mL
การดูแลรักษา การล้างและการให้heparinพอร์ตที่ใส่สายทางหลอดเลือดดำ (venous catheters)
ทุกครั้งก่อนการให้ยาหรือสารละลายต้องทำการตรวจสอบการทำงานของพอร์ตและสายก่อนโดยใช้ syringe ลองดูดเลือดและทำการฉีด 0.9% NaCl 10 mL (สำหรับเด็กใช้ 5 mL) หากไม่มีการไหลย้อนกลับของเลือดเข้าสู่ syringe ให้พยายามฉีด 0.9% NaCl ทีละน้อยถ้าหากไม่สามารถฉีดได้ หรือผู้ป่วยมีอาการเจ็บ ปวด หรือบวม บริเวณผิวหนังที่ฝังพอร์ตและสายที่ต่อเข้าหลอดเลือด แสดงว่าเกิดความผิดปกติขึ้น ควรแจ้งแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการแก้ไข ควรทำการล้างพอร์ตและสายทุกครั้งหลังจากให้ยาหรือสารละลาย หรือในกรณีที่พอร์ตไม่ได้ใช้งานควรทำการล้างทุก 4-6 สัปดาห์ และอาจนานได้ถึง 8 สัปดาห์ ด้วย 0.9% NaCl 10 mL (สำหรับเด็กใช้ 5 mL) และตามด้วยการให้ Heparinised saline solution (NaCl) 0.9% ควรทำการให้ 0.9% NaCl 10 mL ก่อนการให้ Heparinised saline solution (NaCl) 0.9% ทุกครั้ง ยาบางชนิดทำปฏิกิริยากับ heparin แล้วเกิดการตกตะกอน อาจทำให้เกิดการอุดตันที่พอร์ตหรือสายที่ต่อเข้าหลอดเลือดได้
การถอนเข็มออก
ก่อนที่จะถอนเข็มออกควรล้างด้วย 0.9% NaCl ก่อนที่จะทำการกำจัดเลือดออกในสายสำหรับวิธีการที่จะทำให้เกิดแรงกระแทกในเชิงบวกหรือไม่ได้รับการช่วยเหลือที่สำคัญที่มีความสำคัญคือการล้างข้อมูลและ สายไฟทุก ๆ ครั้งหลังจากการรักษาด้วยยาหรือเข็มสำหรับเข็มSurcan® Safety II จะมีระบบรักษาความปลอดภัยในขณะที่เข็มหักออกให้ใช้ 2 นิ้วจับที่ฐานของตัวเอง ่าเข็มถูกล็อคไว้เรียบร้อยแล้วช่วย ป้องกันไม่ให้เข็มสัมผัสหรือทิ่มมือ