การเจาะตัดชิ้นเนื้อตับด้วยเข็มผ่านทางผิวหน้าท้อง ( Percutaneous liver biopsy )
การเจาะตัดชิ้นเนื้อตับด้วยเข็มผ่านทางผิวหน้าท้อง ( Percutaneous liver biopsy )
การตัดชิ้นเนื้อตับผ่านทางผิวหน้าท้อง จะใช้วิธีฉีดยาชา แพทย์จะใช้เข็มดูดเอาส่วนสำคัญของเนื้อเยื่อตับไปวิเคราะห์ การตรวจชิ้นเนื้อจะช่วยแยกแยะความผิดปกติของตับ หลังจากที่ทำอัลตราซาวด์ (Ultrasonograpy)เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTscan) และการตรวจ MRI แล้ว ไม่ได้ผลการตรวจที่แน่ชัด เป็นการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง
การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก (Percutaneous Needle Biopsy)เพื่อให้คำตอบที่เพียงพอต่อการรักษาโรคได้
จากประสบการณ์ของเคสตัวอย่างนี้
“ ผู้ป่วยชายวัย 87 ปี ตรวจสแกนคอมพิวเตอร์พบก้อนที่ตับขนาดประมาณ 7 เซนติเมตร จากภาพสแกนคอมพิวเตอร์ไม่พบมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ใน A phase ถ้าแพทย์ไม่ทำการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยมาทำการวินิจฉัยด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ หรือวิธีทางพยาธิวิทยา หากดูเพียงภาพสแกนคอมพิวเตอร์ร่วมกับผลการตรวจเลือด ก็อาจจะวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีในตับ ซึ่งอาจจะทำให้แพทย์วางแผนการรักษาผิดพลาดได้ในที่สุด แต่เนื่องจากเคสนี้แพทย์ได้ทำการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยมาทำการวินิจฉัยด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ หรือวิธีทางพยาธิวิทยา ผลวินิจฉัยออกมาเป็นมะร็งที่เนื้อตับ ซึ่งสามารถใช้ยากินแบบมุ่งเป้าได้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องได้รับยาเคมีบำบัดทางเส้นเลือด ”
โชคดีที่ในปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อภายในร่างกายออกมาอีกแล้ว ทำให้เราหลีกเลี่ยงการดมยาสลบ, การมีแผลผ่าตัด และการนอนในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน จากการพัฒนาของเทคโนโลยี 2 ประการ คือ เทคโนโลยีการวินิจฉัย และเทคโนโลยีของเข็มชนิดพิเศษที่ใช้ในการตัดชิ้นเนื้อ ทำให้เราสามารถทำการเจาะดูดชิ้นเนื้อ ได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัย และไม่ต้องผ่าตัด
เพื่อไม่ให้มีผลกระทบหรือรบกวนต่อก้อนมะเร็งให้น้อยที่สุด ผู้ป่วยเองก็เจ็บน้อยที่สุด และขณะเดียวกันก็ต้องให้ผลการตรวจที่แม่นยำมากที่สุดด้วย
และที่สำคัญกว่านั้น แผลจากการตรวจเนื้อเยื่อนั้นจะต้องไม่กระทบต่อแผนการรักษาในขั้นตอนต่อไป หากผลการตรวจเนื้อเยื่อนั้นกลับมาว่าเป็นเนื้อมะเร็ง
ผู้ป่วยจำนวนมากที่มีความผิดปกติของตับจะมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นการตัดชิ้นเนื้อตับจะต้องตรวจเลือดเพื่อดูการแข็งตัวของเลือดก่อนการเจาะตัดชิ้นเนื้อที่ตับส่งตรวจ
โดยใช้เข็มชนิดพิเศษ แพทย์สามารถมองเห็นเข็มและอวัยวะอย่างชัดเจนผ่านทางจอภาพเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
– เพื่อความถูกต้องแม่นยำ ตรงตำแหน่งที่ต้องการใช้เทคนิคอัลตร้าซาวน์ และ CT scan ในการมองหาตำแหน่งก้อน
– มีความปลอดภัยสูง ลดการบาดเจ็บของอวัยวะอื่นๆที่สำคัญ เช่น เส้นเลือด
– ได้ชิ้นเนื้อเพียงพอต่อการวินิจฉัย
– แผลเล็ก เฉลี่ยประมาณ 0.5 ซ.ม.
– หายไว นอนสังเกตอาการหลังทำ 12-24 ชั่วโมง
– รอผลตรวจชิ้นเนื้อประมาณ 3 วัน
– เพื่อความแม่นยำในการวางแผนการรักษา
การเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Percutaneous Core Needle Biopsy )
นอกจากจะทำได้กับตับแล้ว ยังสามารถทำได้กับหลายอวัยวะในช่องท้อง ( ตับ ไต ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ) ในทรวงอก ( ปอด เยื่อหุ้มปอด เนื้อเยื่อระหว่างปอด ) กระดูกสันหลัง แขนขา ผิวหนังไม่ได้จำกัดแค่ที่ตับ
ch9online 2021-12-22T00:39:59+07:00