การออกกำลังกายสำหรับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงภาวะปกติ
- ลดความอ่อนเพลีย อันเนื่องมาจากผลข้างเคียงของยา
- ลดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล ทำให้ผ่อนคลายและนอนหลับง่ายขึ้น
- ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- เพิ่มความอยากอาหาร เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะบวมน้ำเหลืองในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
ข้อแนะนำในการออกกำลังกาย
- เน้นทำได้ง่าย ผู้ป่วยควรหากิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากจะช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น เช่น การเข้าครัว การพาสุนัขเดินเล่น
- ทำอะไร ควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เช่น การเดิน การปั่นจักรยานแบบช้าๆ โยคะ หรือว่ายน้ำ
- บ่อยแค่ไหน ให้ได้ 150 นาที/สัปดาห์ หรือ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 30-60นาทีต่อวัน
ทั้งนี้ระหว่างการรักษา ผู้ป่วยสามารถเลือกออกกำลังกาย โดยแบ่งเป็นครั้งละ
5 – 10 นาที ทำบ่อย ๆ แทนการออกกำลังกายครั้งละนาน ๆ ได้ ขึ้นกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย
ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- หากมีอาการโลหิตจางอย่างรุนแรงควรงดการออกกำลังกาย ยกเว้น เฉพาะการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน
- หากมีอาการปวดปลายประสาท ควรระมัดระวังในการเดินออกกำลังกาย
- หากมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ควรงดการว่ายน้ำ
- หากกำลังเป็นไข้อยู่ ควรงดกิจกรรมแบบหนักไปก่อน
- หากมีความเสี่ยงเรื่องหัวใจ ควรงดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงจะกระตุ้นหัวใจมากเกินไป เช่น การวิ่งเร็ว
- หากมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่สาธารณะ ที่มีประชากรหนาแน่นเป็นเวลาอย่างน้อย 1ปีหลังการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
- หากมีอาการอ่อนล้าอย่างมากจากการรักษาโรคมะเร็ง เช่นการฉายรังสี หรือเคมีบำบัด ควรออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อเป็นเวลาประมาณ 10 นาทีทุกวัน
- หากได้รับการฉายรังสี ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคลอรีนในบริเวณที่ถูกรักษา ดังนั้นจึงไม่ควรออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ
- หากมีอุปกรณ์ต่างหลังการรักษา เช่นสายสวนปัสสาวะ ควรระมัดระวังการติดเชื้อ และการออกกำลังกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้เคียง
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000