จากข้อมูลสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในแต่ละปีจะพบว่าผู้หญิงไทยป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ 5,513 ราย เพิ่มขึ้นวันละ 15 ราย เสียชีวิตปีละ 2,251 ราย
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมากกว่า 90% เกิดจากไวรัสเอชพีวี โดยเชื้อนี้จะติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ที่มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุในอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เชื้อสามารถเข้าไปอยู่ที่ปากมดลูกจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อกลายเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่ออักเสบเรื้อรังที่เป็นระยะก่อนเป็นมะเร็งและเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด ภัยเงียบในผู้หญิง ที่ต้องระวัง
การรักษาอยู่กับระยะของโรค
- การผ่าตัด
การผ่าตัดส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดแบบไร้แผล ทดแทนการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องหรือส่องกล้องทางหน้าท้องที่ต้องตัดมดลูกออก โดยการสอดกล้องเข้าไปทางช่องคลอดแล้วใช้วิธีการที่พัฒนาขึ้นในการแยกปากมดลูกและท่อปัสสาวะได้ชัดเจน ก่อนจะตัดปากมดลูกที่เป็นมะเร็งออก ทำให้สามารถรักษามดลูกของผู้ป่วยไว้ได้ใช้กับผู้ป่วยก้อนมะเร็งใหญ่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร
การฉายแสง การใช้รังสีรักษา (Radiation)
การรักษาด้วยรังสีรักษามี 2 ประเภทหลักๆ ประเภทแรกคือการฉายรังสีระยะไกล (external beam radiation therapy) วิธีการนี้เป็นการรักษาด้วยรังสีที่มาจากเครื่องกำเนิดรังสี แพทย์จะทำการฉายรังสีไปยังจุดที่ผิดปกติ วิธีการรักษาอีกประเภทคือ การให้รังสีระยะใกล้ (Brachytherapy) โดยแพทย์จะให้แร่ผ่านด้านในช่องคลอดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
การฉายแสง การใช้รังสีรักษา ทำใน 2 กรณี
1.หลังทราบผลชิ้นเนื้อและพบว่ามีความเสี่ยงในการกลับเป็นซ้ำ แพทย์อาจแนะนำการใช้รังสีรักษา เพื่อร่วมรักษาเพิ่มเติมหลังผ่าตัด
2.สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ (locally advanced cervical cancer) แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาหลัก
การใช้รังสีรักษาอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการเก็บรักษาไข่ก่อนเริ่มการรักษาโดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยอายุน้อย หรือผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร ในอนาคต
- การให้ยา
1.การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy)
การรักษาด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยแพทย์จะรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดในปริมาณเล็กน้อยร่วมกับการใช้รังสีรักษา สำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ โดยยาเคมีบำบัดจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรังสีรักษามากขึ้น
สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจายแพทย์มักจะรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก
2.การใช้ยารักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy)
แพทย์มักจะใช้การรักษารูปแบบนี้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจาย
3.การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy Therapy)
ถูกนำมาใช้สำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะแพร่กระจาย หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาประเภทอื่นๆ การรักษาแบบนี้จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
การที่ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 จะมีอัตรามีชีวิตรอดได้นานเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับระยะที่ป่วย ซึ่งระยะที่ 4 จะแยกเป็นการกระจายไปอวัยวะใกล้เคียงและกระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย รวมถึงเป็นมะเร็งชนิดที่ความรุนแรงต่ำ ผู้ป่วยที่มีการปฏิบัติตัวที่ดีและมีจิตใจที่เข้มแข็งมีกำลังใจดีถือเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ป่วยเป็นมะเร็งส่วนใหญ่มักสิ้นหวังกับการมีชีวิต คิดว่าเป็นมะเร็งแล้วจะต้องตายแน่ แต่จริงๆ แล้วมะเร็งยิ่งรักษาเร็วยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตสูง
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 08-0074-8800, 02-115-2111
แฟกซ์ : 02-738-9740
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Line : @ch9airport