การรักษามะเร็งท่อทางเดินน้ำดีในตับของศูนย์มะเร็งตรงเป้า

มะเร็งท่อน้ำดีในตับ เป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงของโรคสูง เนื่องจากกว่าจะตรวจพบโรคได้ อาการก็มักลุกลามแพร่กระจายเชื้อไปทั่วแล้ว

แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยก็มีโอกาสรักษาให้หายได้โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ระยะของโรคที่เป็น ความสามารถในการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมะเร็งออก รวมถึงอายุและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย

ในปัจจุบัน ผู้ป่วยจะมีส่วนร่วมในการรักษามะเร็งได้มากกว่าที่ผ่านมา โดยแพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันออกแบบวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมไปตามอาการร่วมกัน

สาเหตุหลักๆ อาจเป็นเพราะทุกวันนี้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น ตลอดจนการตัดสินใจรักษาก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ป่วย ฉะนั้น หากเกิดการร่วมมือกันของทั้งสองฝ่าย ผลข้างเคียงของการรักษาก็จะอยู่ในระดับที่ผู้ป่วยรับได้ อีกทั้งอาจเป็นประโยชน์ที่จะแบ่งการรักษาออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. การรักษาเฉพาะที่

การรักษาเฉพาะที่ ซึ่งการรักษาเฉพาะที่นั้น เป็นการรักษาเฉพาะตำแหน่งที่มะเร็งเกิด

  • การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่พบบ่อยสำหรับผู้ป่วยมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีในตับ โดยการผ่าตัดจะช่วยในการตัดเนื้องอกทิ้งไปเพื่อเอาออกจากร่างกาย การผ่าตัดอาจจะรวมถึงการตัดออกทั้งหมดหรือเพียงส่วนหนึ่งของตับและท่อทางเดินน้ำดี หลังจากผ่าตัดแล้ว อาจต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม เช่น การฉายรังสีหรือเคมีบำบัด
  • การรักษาด้วยรังสี เป็นวิธีการรักษาที่ใช้แสงรังสีเพื่อฆ่าเนื้องอกในท่อทางเดินน้ำดีของตับ วิธีการนี้มักใช้ร่วมกับการผ่าตัด หรืออาจใช้แยกต่างหาก
  • การทำลายมะเร็งเฉพาะจุดด้วยวิธีรังสีร่วมรักษา (Interventional radiology) เพื่อควบคุมโรค ถือเป็นจุดเด่นที่มีความแม่นยำ ตรงจุด ประสิทธิภาพเท่าเทียมการผ่าตัดวิธีการนี้มักใช้ร่วมกับกาให้ยาคุมโรค
    1. Cryoablation จี้ก้อนเนื้องอกด้วยความเย็นติดลบ ทำให้อุณหภูมิภายในก้อนมะเร็งลดลงอย่างรวดเร็วถึง –40 องศาเซลเซียส ภายใน 1 นาที ส่งผลให้เซลล์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จากการแตกของผนังเซลล์ ร่วมกับการขาดเลือด ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที โดยเนื้องอกและเนื้อเยื่อส่วนที่ได้รับความเย็นจัดนั้น ร่างกายจะค่อยๆดูดซึมเซลล์ที่ตายแล้วและสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน เทคนิคนี้สามารถใช้แท่งเข็มหลายแท่งทำความเย็นได้พร้อมกัน สามารถทำให้มะเร็งขนาด 4-6 เซนติเมตร เป็นน้ำแข็งได้ใน 1 ครั้ง
    2. RFA (Radiofrequency Ablation) จี้ก้อนมะเร็งด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ทำให้เกิดความร้อนภายในตัวก้อนมะเร็ง อุณหภูมิสูงประมาณ 90 – 100 องศาเซลเซียส โดยความร้อนจะก่อให้เกิด protein coagulative necrosis ซึ่งทำให้เซลล์ถูกทำลายอย่างถาวร โดยมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก เวลาที่ใช้ Ablation ประมาณ 8-20 นาที เทคนิคนี้ได้ผลดีในก้อนมะเร็งที่มีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร และหากก้อนมะเร็งในตับไม่เกิน 4 ก้อนขนาดแต่ละก้อนต้องไม่เกิน 3 เซนติเมตร
    3. MWA (Microwave ablation) ทำลายก้อนมะเร็งด้วยคลื่นความถี่ไมโครเวฟ ทำให้เกิดความร้อนภายในก้อนมะเร็งโดยอุณหภูมิที่มากกว่า 90 องศาเซลเซียส จนเกิดภาวะ Intracellular Protein Denaturation และ Coagulative Necrosis คือภาวะที่โปรตีนของเซลล์มะเร็งจะแข็งตัวและทำให้ก้อนเนื้องอกสลายตายในที่สุดสามารถลดขนาดก้อนได้ถึงร้อยละ 90 ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที เทคนิคนี้ได้ผลดีในก้อนมะเร็งที่มีขนาดก้อนไม่เกิน 5 เซนติเมตร

2. การรักษาทุกส่วนของร่างกาย

การรักษาทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งการรักษาในทุกส่วนนั้นก็เพื่อกำจัดตัวมะเร็งไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของร่างกาย การรักษาอาจทำได้โดยเคมีบำบัด การใช้ยาที่จำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง และการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด

การตรวจยีน หรือโมเลกุลสารพันธุกรรมมะเร็งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยตัดสินใจเลือกใช้ยา เพื่อการตอบสนองต่อโรคที่ดียิ่งขึ้น

  • ยาเคมีบำบัด สามารถทำงานได้โดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยการฉีดยาเคมีเข้าสู่ร่างกายผ่านทางหลอดเลือด ยาเคมีทำงานโดยการยับยั้งการหารือ DNA ของเซลล์มะเร็งและทำให้เซลล์มะเร็งตายได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัดสามารถทำได้ในรูปแบบของเคมีบำบัดเดี่ยว หรือการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการรักษาเฉพาะที่ หรือให้ร่วมกับยามุ่งเป้าและยาภูมิคุ้มกันบำบัดก็ได้ ซึ่งการเลือกวิธีการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสถานะของผู้ป่วย ตลอดจนการตัดสินใจรักษาก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ป่วย
  • การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งโดยการใช้ยาที่เป็นตัวยาเฉพาะเจาะจงและกำหนดเป้าหมายเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งโดยไม่กระทบกับเซลล์ปกติในร่างกาย ยามุ่งเป้าทำงานโดยการเชื่อมโยงตัวยากับโมเลกุลที่มีอยู่บนผิวเซลล์มะเร็ง โดยการเชื่อมโยงนี้จะช่วยให้ยาสามารถเข้าสู่เซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้นและสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันยาจะไม่กระทบต่อเซลล์ปกติในร่างกายอย่างมาก แต่การจะเลือกใช้ยาตัวไหนได้นั้นการตรวจยีน หรือโมเลกุลสารพันธุกรรมมะเร็งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยตัดสินใจเลือกใช้ยา เพื่อการตอบสนองต่อโรคที่ดียิ่งขึ้น
  • การรักษามะเร็งด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการใช้ยาที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยยาภูมิคุ้มกันบำบัดจะเป็นยาที่เป้าหมายในการกระตุ้นหรือปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยับยั้งหรือบล็อกการทำงานของเอนไซม์หรือโปรตีนที่ช่วยให้เซลล์มะเร็งหลีกเลี่ยงการโจมตีจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น

แต่การจะเลือกใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) นั้นการตรวจ MSI ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อรักษามะเร็ง การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วย MSI-High ให้ผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่มี MSI-High ดังนั้น การตรวจ MSI-High เป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัดในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีในตับในระยะต่างๆ

 

 

ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

บริษัท คอนวีเนียนซ์ ฮอสพิทอล จำกัด
Convenience Hospital Co., Ltd.
90/5 หมู่ 13 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000
เว็บไซต์ : รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
ไทย | ဗမာစာ