การ ผ่าตัดเต้านม แบบ MRM (Modified radical mastectomy) คือผ่าตัดเอาเต้านมทั้งเต้า ต่อมน้ำเหลือง และกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนออก เป็นการ ผ่าตัดเต้านม สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ 1และ 2 (stage I, IIA, IIB)
หลักในการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการ ผ่าตัดเต้านม
- เพื่อควบคุมโรคเฉพาะที่ให้ได้ (Adequate loco-regional control)
- เพื่อให้ได้ข้อมูลในการบอกระยะของโรคและข้อมูลสำหรับวางแผนการรักษา (Tumor information and staging)
- เพื่อให้เกิดความสวยงามและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี(Appropriate quality of life)
การผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม แบ่งเป็น
- การผ่าตัดที่เนื้อเต้านม (Breast tissue surgery)
- การผ่าตัดที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ (Axillary lymph node surgery)
Mastectomy คือการผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และกล้ามเนื้อที่หน้าอกออก ซึ่งมีวิธีการผ่าตัดได้หลายชนิด
- Simple Mastectomy เป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะเต้านมออกหมดแต่ต่อมน้ำเหลือง แต่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ
- Modified Radical Mastectomy (MRM) ผ่าตัดเอาเต้านมและต่อมน้ำเหลือง และกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนออก ซึ่งวิธีนี้เป็นมาตรฐานการผ่าตัดในปัจจุบัน
- Radical Mastectomy ผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองรักแร้ทั้งหมด และกล้ามเนื้อหน้าอกออกหมด
สมัยก่อนแพทย์มีความเชื่อว่า การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกให้มากที่สุด จะลดโอกาสการแพร่กระจายของมะเร็ง และเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอด แต่ปัจจุบันได้พบความจริงแล้วว่า การตัดต่อมน้ำเหลืองออกหมด ไม่ได้ลดอัตราการแพร่กระจายของมะเร็ง แต่การต่อมน้ำเหลืองไปตรวจก็มีประโยชน์ ที่จะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง และยังมีประโยชน์ในการเลือกยาที่จะใช้รักษา
การตัดต่อมน้ำเหลืองตรวจมีสองวิธีคือ Sentinel lymph node biopsy (SLNB) คือการตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับมะเร็ง เพื่อส่งตรวจหามะเร็ง หากไม่พบเซลล์มะเร็งก็ไม่ต้องผ่าต่อ แต่หากพบเซลล์มะเร็งก็จะผ่าตัดแบบ Axillary lymph node dissection (ALND) คือตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด
ผลข้างเคียงของการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง
- ชาบริเวณผิวหนังแขนด้านใน
- การเคลื่อนไหวของแขนและไหล่ติดขัด
- บวมบริเวณแขนและเต้านมที่เรียกว่า Lymphedema
วิธีป้องกัน Lymphedema
- ไม่เจาะเลือด หรือให้น้ำเกลือแขนข้างที่จะผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง
- ไม่วัดความดันโลหิตแขนข้างดังกล่าว
- หากรู้สึกว่าแขนบวมให้บอกแพทย์
- ใส่เสื้อเฉพาะที่รัดแขน
- เมื่อจะทำสวนให้ใส่ถุงมือ
ศูนย์มะเร็งตรงเป้า – โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
โทรศัพท์ : 093-328-5561
หรือ : 02-115-2111 ต่อ 1169, 1170
แผนที่ : Google / รูปแผนที่ / เส้นทางเดินทาง
Facebook : HIFUCHULARAT
Line : hifu9000